กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 69,835.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวันชัย อุดมพฤกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ

1.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ

2.จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน

3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ

4.แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ

ขั้นดำเนินการ

1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

-ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดรอบเอว คำนวณค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต วัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น

-อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 2 รุ่น ใช้หลัก 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข

2.เตรียมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อคัดกรองโรคบาหวานด้วย 75 gm OGTT

2.1.เจ้าหน้าที่ และอสม. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดเลือกประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg%
(งดอาหาร)

2.2.อสม. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะ DTX ≥ 100-125 mg% (งดอาหาร) ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อการติดตามและการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

2.3 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม กรอกแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนดจนเสร็จสิ้นโครงการ

3.นำผลจากการคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อเข้าสู่การดูแลคัดกรองซ้ำอย่างใกล้ชิด

4.ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส OGTT โดยการทำ 75 gm OGTT (Oral Glucose Tolerance Test : OGTT) ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

5.การวัดความดันที่บ้าน (SMBP) อย่างน้อย 7 วันต่อเนื่อง

6.ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลตนเองแบบมีส่วนร่วม กลุ่ม ปกติ เสี่ยง และป่วยโดยตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยขับเคลื่อนโดยแกนนำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพระดับชุมชน เช่น มีสถานที่ที่เหมาะสม  ในการ ออกกำลังกาย ต้องส่งเสริม ให้ มีการปลูกผักและกินผักที่ปลูก หรือ เลือกซื้อผักที่ปลอดสารพิษส่งเสริม

7.ติดตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการเสริมแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องโดย ประเมินจากค่าความเสี่ยง เช่น ระดับน้ำตาล รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ที่เปลี่ยนแปลงไป ทุก 1 เดือน เป็นรายบุคคล ระยะเวลา ๕ เดือน ( พฤษภาคม – กันยายน 2564 )

8.คืนข้อมูลการเฝ้าระวัง การดำเนินงานตามโครงการฯ ให้กับ ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เป็นระยะ เพื่อทบทวน และปรับกลวิธีการดำเนินงาน เพื่อมุ่งเน้น การลดผู้ป่วยรายใหม่ และปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม

9.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ปัจจัยความสำเร็จ สิ่งที่สามารถนำมาเป็นรูปแบบ และอุปสรรค ที่ไม่สามารถดำเนินการได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 14:43 น.