กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มวัย
รหัสโครงการ 64-L8020-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 35,694.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 35,694.00
รวมงบประมาณ 35,694.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 391 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 454 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในจังหวัดสงขลาและอำเภอรัตภูมิ พ.ศ.2562 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 49.9 และ 40.6 ตามลำดับ ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุ (cavity free) คิดเป็นร้อยละ 85.94 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครู ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้นในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก และจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย     กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพี่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้หญิงตั้งครรภ์, ผู้ปกครอง, ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูในโรงเรียนประถมศึกษา, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญ  คือ กลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม นำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  1. ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟัน
  3. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  4. ร้อยละ 70  ของผู้ปกครอง เด็ก 0-2 ปีได้รับการฝึกทำความสะอาดช่องปาก
  5. ร้อยละ 60 ของเด็ก 0-2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
  6. ร้อยละ 55 ของเด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก
  7. ร้อยละ 50 ของเด็ก 3-5 ปี เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่
  8. ร้อยละ 10 ของเด็ก 3-5ปี ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART
  9. ร้อยละ 50 ของเด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก
0.00
2 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในชมรมที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 20 ของผู้พิการในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  3. ร้อยละ 70 ของอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม มีความรู้และทักษะการปฏิบัติกิจกรรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (เกณฑ์ดี 70%)
  4. ร้อยละ 40 ของเด็ก 0-3 ปี ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและทันตบุคลากร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1412 35,694.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรมแม่ลูกฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์) 115 5,962.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 2. กิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฟันสวย (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ) 296 11,380.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 3. กิจกรรมรักษ์ฟัน (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ) 454 6,952.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม) 357 6,200.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 5. กิจกรรมอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.เทวี ฐานุตดม) 190 5,200.00 -
  1. กิจกรรมแม่ลูกฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์)   1.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับฝากครรภ์เชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการรายใหม่ทุกรายขึ้นทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมแม่ลูกฟันดี
      1.2 จัดให้มีการให้ความรู้ทันตสุขศึกษาและสาธิตฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟันทุกวันของโรงเรียนพ่อแม่ในสถานบริการ   1.3 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่ และได้รับการส่งต่อนัดหมายทางทันตกรรมตามความเหมาะสม   1.4 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันและควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์   1.5 ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ทุกรายได้รับการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติจริง แก่ผู้ปกครองจากเจ้าหน้าที่ทันตบุคลากร ในวันพุธที่ 2 ของทุกเดือน   1.6 เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก แนะนำการใช้แปรงซิลิโคนหรือแปรงเด็กให้เหมาะสมตามกลุ่มอายุ พร้อมทาฟลูออไรด์วานิช ในวันที่มารับบริการฉีดวัคซีน   1.7 จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองฝึกตรวจช่องปากลูกน้อยในความดูแลของตนเอง โดยให้มีการตรวจสุขภาพช่องปาก และลงในแบบบันทึกการตรวจฟัน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกโดยผู้ปกครอง และหากตรวจพบฟันผุจะได้ส่งต่อหรือแก้ไขได้ทันท่วงที   1.8 เชิญชวนผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมส่งหมอถึงมือแม่ โดยเข้าร่วมเพจ Chatbot21วันฟันดี ทาง facebook เพื่อลูกน้อยมีฟันที่แข็งแรงและยิ้มสดใส   1.9 มีการบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กทุกครั้งเพื่อติดตามดูแลการเปลี่ยนแปลงและนัดรับการรักษาอย่างเหมาะสมและมีการบันทึกในแฟ้มทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์   1.10 ติดตามและประเมินผล

  2. กิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฟันสวย (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ)   2.1 ประสานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกำแพงเพชร(ชายคลอง), โรงเรียนอนุบาลเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา เพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรม   2.2 ทันตบุคลากรออกเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเก็บข้อมูล รับทราบปัญหา และสังเกตกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน   2.3 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกำแพงเพชร(ชายคลอง), โรงเรียนอนุบาลเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ และอุดฟันด้วยวิธี SMART TECHNIQUE
      2.4 จัดกิจกรรมพบปะผู้ปกครองขณะมารับเด็กหลังเลิกเรียน รายกลุ่มย่อย 4-5 คน/ครั้ง โดยมุ่งเน้นกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูง // เล่านิทานทันตสุขภาพให้เด็กนักเรียน เพื่อจูงใจให้ปรับพฤติกรรม
    2.5 จัดประชุมอบรมผู้ปกครอง     - ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
        - บรรยายโดยใช้สไลด์นำเสนอ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในหัวข้อที่กำหนด
        - จัดอภิปรายกลุ่มเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน และทำการสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันให้เด็กก่อนวัยเรียนและการตรวจสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี
          2.6 จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก 3-5 ปี แก่คุณครูผู้รับผิดชอบ   2.7 สนับสนุนสื่อ, โปสเตอร์ บางส่วนสำหรับมุมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ที่ครอบแปรงสีฟัน, แปรงสีฟัน และยาสีฟัน
      2.8 สรุป และประเมินผล

  3. กิจกรรมรักษ์ฟัน (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ)   3.1 ประชุมวางแผนและดำเนินงานส่งเสริมทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาโดยทีมทันตบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง   3.2 ประสานงานกับทางโรงเรียนบ้านชายคลอง, โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา และครูอนามัยเพื่อขออนุญาตผู้ปกครอง   3.3 ปฏิบัติงานตามแผนร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร โดยให้บริการตรวจฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์วานิช โดยใช้ฟลูออไรด์เข้มข้นเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคฟันผุในเด็กนักเรียน ชั้น ป.1-ป.6 และส่งต่อรับบริการ    ทันตกรรม ขูด/อุด/ถอน ที่โรงพยาบาล ตามความเหมาะสม   3.4 ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติ ในคาบวิชาเรียนสุขศึกษา เดือนละ 1 ครั้ง   3.5 จัดอบรมแกนนำนักเรียนเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก สาธิตวิธีการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันและฝึกปฏิบัติจริง
      3.5 ติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนและกระตุ้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง   3.6 สรุปและประเมินผล

  4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)   4.1 เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร และทันตบุคลากรโรงพยาบาลรัตภูมิ ประสานชมรมผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบเพื่อกำหนดวันและเข้าดำเนินกิจกรรม   4.2 จัดกิจกรรมการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช /อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิต ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี การดูแลฟันเทียมที่ถูกวิธีสำหรับผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็กเล็กในครอบครัว   4.3 จัดกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านตรวจฟัน ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิตวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการที่บ้าน   4.4 ให้บริการนัดทำการรักษาทางทันตกรรมในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่มีฟันใช้งานให้บริการเข้าคิวในโครงการฟันเทียมพระราชทานที่กลุ่มงานทันตกรรม รพ.รัตภูมิ   4.5 สนับสนุนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมส่งคัดเลือกผู้สูงอายุฟันดีเข้าประกวดระดับจังหวัด (ขึ้นอยู่กับบริบท)   4.6 ติดตามและประเมินผล

  5. กิจกรรมอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.เทวี ฐานุตดม) 5.1 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เพื่อกำหนดวันจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขของพื้นที่ 5.2 จัดกิจกรรมอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้ความรู้เรื่องทันตสาธารณสุข และชี้แจงกิจกรรมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อคัดเลือกตัวแทนแกนนำแต่ละหมู่บ้าน 5.3 อาสาสมัครสาธารณสุขทำแบบทดสอบความรู้พื้นฐานด้านทันตสุขภาพ ( pre-test , post-test) 5.4 อบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข 6 ชุมชน ตัวแทนชุมชนละ 2 คน 5.5 กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาสาสมัครสาธารณสุขลงปฏิบัติกิจกรรมเยี่ยมบ้านโดยเลือกกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอายุ 0-3 ปี ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร จำนวน 95 คน และกำหนดวันลงปฏิบัติกิจกรรมเยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ทันตบุคลากรโรงพยาบาลรัตภูมิ 5.6 บันทึกข้อมูลลงแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน/ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา/สาธิตและฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟันให้กับเด็ก
    5.7 ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่เข้าโครงการมีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  3. มีการประสานงานและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างงานทันตสาธารณสุขและทีมบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน รวมถึงเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีด้วย
  4. นักเรียน ป.1–ป.6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้
  5. ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
  6. ลดการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ และเพิ่มการบดเคี้ยวที่ดีในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการฟันเทียม
  7. ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลความสะอาดช่องปาก สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี
  8. อาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม มีความตระหนักในด้านทันตสุขภาพและร่วมดูแลเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2564 10:51 น.