กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พลังการสืื่อสารอนามัยเจริญพันธุ์ในครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5282-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ บุคลากรโรงพยาบาลควนกาหลง
พื้นที่ดำเนินการ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ 9 ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การมีเพศสัมพันธ์ุและการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทย พบว่า วัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเร็วขึ้น อายุเฉลียเมื่อมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกลดลงจากเดิมอายุเฉลี่ย 18-19 ปี ใน พ.ศ.2539 มาเป็น 15-16 ปี ใน พ.ศ.2552 (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ในวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี จาก 80.8 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2553 เป็น 127.08 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2558 (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) อัตราคลอดในหญิงอายุ 10-14 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในปี พ.ศ.2543 เป็นร้อยละ 1.3 ในปี พ.ศ.2558 ข้อมูลการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ 15-19 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.3 ในปี พ.ศ.2553 เป็น ร้อยละ 12.8 ในปี พ.ศ. 2557 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข) และข้อมูลร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ของเขต 12 พบว่ายังเกินค่าเป้าหมายที่กำหนด คือ ร้อยละ 16.75 ในปี พ.ศ. 2558 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข)สถานการณ์การคลอดในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ของจังหวัดสตูล สอดคล้องกับข้อมูลระดับประเทศ คือ อัตราการคลอดในหญิงอายุ 15 - 19 ปี มีแนวโน้มลดลง จาก 67.29 ในปี พ.ศ. 2555 เป็น 33.84 ในปี พ.ศ. 2559และพบว่าการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ15 - 19 ปี เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 11.8 ในปี พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 18.99 ในปี พ.ศ. 2559ซึ่งการดำเนินงานในการแก้ปัญหานั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ไปในทางที่ดี มีการสื่อสารเรื่องเพศภายในครอบครัว ก็จะส่งผลไปในทางที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของวัยรุ่น ลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอื่น ๆ
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ และโรงพยาบาลควนกาหลง จึงได้ร่วมกันจัดทำ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “พลังการสื่อสารอนามัยเจริญพันธุ์ในครอบครัว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของวัยรุ่นและส่งผลให้วัยรุ่นในตำบลอุใดเจริญมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560 - 2564 ว่าด้วย "การส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศกับวัยรุ่น ตามพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลานวัยรุ่น มีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์

บิดา มารดา ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ร้อยละ 60

2 2.เพื่อให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลานวัยรุ่นมีทักษะในการสื่อสารด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในครองครัวได้อย่างเข้าใจ

บิดา มารดา ผู้ปกครอง มีทักษะและสามารถสื่อสารเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ ร้อยละ 60

3 3.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์

นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ร้อยละ 60

4 4.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสื่อสารด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในครองครัวได้อย่างเข้าใจ

นักเรียนมีทักษะในการสื่อสารด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในครอบครัว ร้อยละ 60

5 5.เพื่อให้นักเรียนสามารถประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้ และรู้จักวิธีป้องกันตนเองได้

นักเรียนสามารถประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้ และรู้จักวิธีป้องกันตนเอง ร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ พิจารณาอนุมัติโครงการ 2.เสนอขออนุมัติงบประมาณ และขออนุมัติดำเนินงานโครงการตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1 3.สำเนาเอกสารให้ฝ่ายพัสดุจัดเตรียมเอกสารการอบรมและจัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการ 4.ประสานงานกับวิทยากร (ทั้งวิทยากรหลักและวิทยากรกลุ่ม) ภายในจังหวัดสตูล กำหนดวันเวลาในการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “พลังการสื่อสารอนามัยเจริญพันธุ์ในครอบครัว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 5.เก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการพร้อมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บิดา มารดา และผู้ปกครองเด็กวัยรุ่นในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญที่เข้าร่วมโครงการ มีทัศนคติที่ดีในการสื่อสารเรื่องเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ กล้าที่จะเริ่มพูดคุย สอนลูกหลานในเรื่องเพศศึกษา และเด็ก ๆ กล้าพูดคุย สอบถามเรื่องเพศกับบิดา มารดา และผู้ปกครอง ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 09:28 น.