กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมากมาย อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรค ปัจจุบัน วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยแม้นปี 2559 องค์การอนามัยโลก(WHO ) จะกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยุติวัณโรค โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปี 2578 ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานวัณโรค กรมควบคุมโรคได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติพ.ศ.2561-2564 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการลดอุบัติการณ์วัณโรคไปสู่เป้าหมายยุติวัณโรคอุบัติการณ์  วัณโรคในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประชาชนยังขาดความตระหนัก รับรู้ และยังมองว่าไม่ร้ายแรงขณะที่องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยติดอันดับ14 ของโลกที่มีปัญหาวัณโรคสูงสำหรับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย มีอัตราผู้ป่วย 156 ต่อแสนประชากร คาดว่าผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำกว่า 108,000รายต่อปี
ในส่วนของพื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรควัณโรคมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สถานการณ์โรควัณโรคตำบลสะเตงนอก ย้อนหลัง 3 ปี (2561 – 2563) พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 25 , 16 และ 17 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 215.63 , 135.36 , 140.24 ต่อแสนประชากรซึ่งมีอัตราป่วยด้วยโรควัณโรคสูงทุกปี จากปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี2564 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรควัณโรคปอด อันจะนำไปสู่การเกิดโรคในอนาคต โรคพวกนี้เป็นปัญหาเรื้อรัง และสูญเสียงบประมาณในการดูแล การค้นหาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน คือ ในกลุ่มปกติให้คำแนะนำในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นและติดตามการคัดกรอง 1 ครั้ง/ปี กลุ่มที่พบผลการตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องที่โรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรค มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา

 

0.00
3 3.เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,125.00 2 20,125.00
25 ก.พ. 65 1.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่แกนนำสุขภาพ 0 14,500.00 14,500.00
25 ก.พ. 65 2.สื่อประชาสัมพันธ์วัณโรค 0 5,625.00 5,625.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เขียนโครงการฯ เสนอขออนุมัติ 1.2 ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
    1. ขั้นดำเนินการ 2.1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง 2.2. จัดการอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง 2.3. ดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรครายใหม่ 2.4 วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันเวลา ร้อยละ 80 2.ร้อยละของแกนนำสุขภาพมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
3.ประชาชนและหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภัยโรควัณโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 14:43 น.