กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังคนกรงปินังร่วมมือป้องกันโรคโควิด-19
รหัสโครงการ 06/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 88,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮีมะห์ มูเซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2564 จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในแต่ละวันเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 จังหวัดยะลา ณ วันที่ 25 เมษายน 2564 ได้รายงานผลพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 29 ราย เป็นประชาชนในเขต หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านกีเยาะ ตำบลกรงปินัง จำนวน 7 ราย และตามหนังสือจังหวัดยะลา ยล 0023.3/ว3563 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 เรื่อง การดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยะลาขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินกรจัดซื้อหน้ากากผ้าหรือจัดทำหน้ากากผ้า แจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ และรณรงค์ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เป็นวงกว้าง มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด การเว้นระยะห่างทางสังคม การคัดกรอง การวัดอุณหภูมิเบื้องต้น และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือที่ถูกวิธี และ การกักกันผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อนพื้นที่ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคสู่พื้นที่อื่น ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทุกคนสามารถเข้าถึงตามมาตรการการควบคุม ป้องกันโรค มีหน้ากากอนามัยและการล้างมือเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเห็นควรจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองและสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันโรคให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคอื่นๆ

 

0.00
2 เพื่อให้มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

 

0.00
4 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ไม่ให้แพร่กระจายสู่พื้นที่อื่น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 11000 88,450.00 0 0.00
30 เม.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน 5,500 43,300.00 -
30 เม.ย. 64 กิจกรรมจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันโรค 5,500 45,150.00 -

1.กิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน 2.กิจกรรมจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ได้แก่ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์        3.กิจกรรมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้แก่ การรักษาระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ตรวจเชื้อโควิด-19 ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ/หมอชนะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคอื่นๆ 2.มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคและสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง 4.สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่และไม่มีการแพร่กระจายสู่พื้นที่อื่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 09:47 น.