กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
รหัสโครงการ 60L80200207
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพัทรพงศ์เจริญวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 677 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิต ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทลบาทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาและกำลังพัฒนา ฯลฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
  1. นักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
  1. นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครอง คณะครู และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์และป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก
  1. นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์และป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก
4 4. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน

นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ลดภาระการดูแลรักษาให้กับหน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุขของรัฐได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 1 17,391.50
2 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมคัดกรองและกิจกรรมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย 0 15,000.00 17,391.50
  1. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการมาให้ความรู้กับนักเรียน คณะครู และผู้ปกครอง ในเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
  2. คัดกรองกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
  3. จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการดูแลและลดภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ให้กับกลุ่มเด็กที่มีภาวะอ้วน โดยให้ผู้ปกครองและครูมีส่วนร่วมในการออกแบบเมนูอาหารที่เหมาะสมและให้มีการติดตามประเมินทุกระยะทั้งที่บ้านและโรงเรียน
  4. จัดตารางเวลาและกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายให้กับกลุ่มเด็กอ้วน
  5. สรุปและประเมินผลโครงการเสนอต่อเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
  2. นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
  3. นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์และป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก
  4. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
  5. ลดภาระการดูแลรักษาให้กับหน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุขของรัฐได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2560 12:36 น.