กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะลาเส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะลาเส
รหัสโครงการ 64-L1521-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 6 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเสและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 31 พ.ค. 2564 20,250.00
รวมงบประมาณ 20,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก  ในหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทย ที่ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ จำนวน ๖๓,๕๗๐ราย รักษาหายแพทย์ให้กลับบ้าน ๓๕,๓๙๔ ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ๒๗,๙๘๘ ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต ๑๘๘ ราย(ข้อมูล ณ วันที่๓๐ เมษายน ๒๕๖๔) และสำหรับสถาณการณ์โรคโควิด19ในจังหวัดตรังวันนี้ (๒๙ เมษายน ๒๕๖๔) นายแพทย์ ตุลกานต์ มักคุ้น นายแพทย์ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลตรัง  ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดตรัง และ แพทย์หญิง ทิพย์ลดา บุญชัย นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลตรัง ในฐานะรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จังหวัดตรัง ร่วมแถลงข่าวจังหวัดตรังพบ  ผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ เพิ่มอีก ๗ ราย รวมจำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดตรังระลอกใหม่ ( ๑ เมษายน๒๕๖๔ – ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ) จำนวน ๑๐๑ ราย ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น ๒ ศาลากลางจังหวัดตรังโดย โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในวันนี้จังหวัดตรังพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่จำนวน ๗ ราย ทำให้มียอดสะสม ๑๐๑ ราย ในจำนวน ๑๐๑ รายนี้ เป็นผู้ที่รักษาหายแล้ว ๑๕ ราย เป็นผู้ที่รักษาตัวอยู่ ๘๖ ราย แยกออกเป็น รักษาที่โรงพยาบาลตรัง ๕๙ ราย โรงพยาบาลชุมชน ๒๗ ราย โรงพยาบาลสนาม ๔๐ ราย หอผู้ป่วยแยกโรคโควิด-๑๙ ๑๘ ราย และห้องแยกกักโรคความดันลบ จำนวน ๑ ราย สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดจตรัง ไม่พบการยืนยันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า ๒๐๑๙ แต่ในพื้นที่อำเภอสิเกาพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ จำนวน ๔ รายบ้านพรุจุด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และจากไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อรายดังกล่าวได้เดินทางไปติดต่อราชการในหน่วยงานต่างๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการบางคนได้รับการติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ ในองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก อีกทั้งขณะนี้ วัสดุ และอุปกรณ์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกฮอล์ล้างมือ ซึ่งใช้ในการควบคุมและป้องกันโรค ดังกล่าวก็ค่อนข้างหายากมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙หรือโควิด ในพื้นที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเสและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ให้กับประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการและประชาชนทั่วไปที่มายังหน่วยงานในพื้นที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส หมู่ที่ ๒ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อลดการติดเชื้อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในตำบลกะลาเสในวงกว้างต่อไป๒

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานมีมาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีมาตรฐานให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการ 2. เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อและการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 3. เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะลาเส ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 20,250.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 64 1.วางแผนการดำเนินงาน2.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์3.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง4.4.สรุปผลการดำเนินงาน 80 20,250.00 -

1.วางแผนการดำเนินงานโครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 19 (COVID-1๙) 2.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 19 (COVID-1๙)
3.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า 19 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางการควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 4.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การเฝ้าระวังโรคสามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเสและในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 10:33 น.