กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดย อบต.แหลมสอม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L1488-5-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กำลังระบาดทั้งประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน (๑๘ มกราคม ๒๕๖๔) มีผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทย จำนวน ๑๒,๔๒๓ คน มีผู้เสียชีวิต จำนวน ๗๐ คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จังหวัดตรังปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อแล้วจำนวน ๕ ราย (ข้อมูลศูนย์COVID ๑๙ จังหวัดตรัง : ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔) แพร่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งจังหวัดตรัง ได้มีประกาศจังหวัดตรัง ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยกำหนดมาตรการป้องกันโรค ให้มีการบริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายหรือการคัดกรองการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ให้อำนวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่งเมตร ให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ และให้มีการติดตั้งระบบแอปพลิเคชั่นติดตามตัว “ไทยชนะ” เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้มีคำสั่งที่ ๑/๒๕๖๔ ให้ ๒๘ จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งจังหวัดตรังได้มีมาตรการให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้รายงานตัวกับศูนย์ปฏิบัติควบคุมโรคระดับตำบลทันที่ที่เดินทางมาถึงจังหวัดตรัง ประกอบกับ ประกาศจังหวัดตรัง ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดตรัง กำหนดให้พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอกันตัง เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่อื่นในจังหวัดตรังเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง และคำสั่งจังหวัดตรังที่ ๕๕/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลแหลมสอม ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค(COVID-๑๙) นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรงออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมืออย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์ สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การไม่นำเอามือมาป้ายหรือจับหน้า ความรู้ความเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการป้องกันโรคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดระลอกใหม่ เพื่อดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ ๑.๑ เพื่อจัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙(COVID-๑๙) ที่ระบาดขึ้นเป็นระลอกใหม่

ประชาชนมีหน้ากากอนามัยและสเปรย์แอลกอฮอล์ ที่จำเป็นในการเฝ้าระวังโรคอย่างเพียงพอ และมีความพร้อมในการป้องกันโรค เมื่อเกิดโรคในพื้นที่

0.00
2 ข้อที่ ๑.๒ เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม

ประชาชนมีความรู้ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม

0.00
3 ข้อที่ ๑.๓ เพื่อให้ชุมชน ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุม

ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุม

0.00
4 ข้อที่ ๑.๔ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ที่ระบาดขึ้นระลอกใหม่

ลดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙(COVID-๑๙) ที่ระบาดขึ้นเป็นระลอกใหม่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,000.00 1 99,000.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 ๑.กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ 0 0.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 ๒.กิจกรรมการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับมอบให้กับกลุ่มเสี่ยงและประชาชนในพื้นที่ตำบลแหลมสอม 0 99,000.00 99,000.00

๑. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน ๒.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต./เทศบาล.... ๓.ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-๑๙) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ ๒. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข   ๓.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ๔.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๕.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ ๒. ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ ๓. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 13:47 น.