กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7889-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 10 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน

เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้สืบเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั่นปลายของชีวิต

เทศบาลตำบลปริก มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น700 รายแยกตามประเภทติดบ้าน จำนวน ๒๕ รายติดเตียง7 ราย และติดสังคม 668รายปัจจุบันผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็นในการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีศักยภาพสามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตนเองหรือประกอบอาชีพได้ เพราะการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุเองการจัดให้มีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิต ให้โอกาสผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้สูงอายุคนอื่นๆรวมทั้งเป็นการบริหารจัดการชีวิตและชุมชนที่ตนเองอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพ โดยต้องอาศัยคนในครอบครัว ชุมชน เข้ามาช่วยกัน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลตำบลปริก ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลปริก รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสุขภาพผู้สูงอายุ ปี ๒๕๖๐ และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปริก รวมถึงกลุ่มชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปริก โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน เทศบาลตำบลปริก และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในด้านการส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัวเพื่อเป็นการต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญญา เศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน

ร้อยละ ๗๐ ของกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ติดสังคม ห่างไกลจากภาวะพึ่งพิง

 

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ร่วมกัน

การจัดกิจกรรมของโครงการฯทำให้ผู้สูงอายุ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ร่วมกัน

4 เพื่อให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการมีศักยภาพเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

-ประชุมคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-ประสานวิทยากรในการจัดกิจกรรมให้ความรู้/กิจกรรมนันทนาการ

-จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม

-จัดอบรมให้ความรู้สร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ

-พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลตำบลปริก

-ประชุมติดตาม และประเมินผล ผู้เข้าร่วมอบรม

-สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลตำบลปริก และ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ผู้สูงอายุเกิดการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้อง ทำให้ห่างไกลจากภาวะพึ่งพิง
  3. ผู้สูงอายุได้ลดภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ เมื่อได้ออกไปแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ร่วมกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ
  4. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีศักยภาพมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2560 10:49 น.