กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรับรู้ เข้าใจ รู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันเอดส์ ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มใจเป็นสุข รพ.วานรนิวาส
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรทอง สาริวงค์สา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2564 30 ก.ย. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
3.00
2 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
1.00
3 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
17.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลประเทศไทยจากแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๓ โดย AIDS EpidemicModel (AEM) มีรายงานว่า เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สะสม จํานวน ๑,๕๒๖,๐๒๘ คน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๖,๙๐๐ คน (เฉลี่ยติดเชื้อรายใหม่วันละ ๑๙ คน) ผู้เสียชีวิตด้วยเอชไอวี๑๖,900 คน ในจํานวนผู้ติดเชื้อที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด ๔๓,๗๐๐ คน แยกเป็นเพศหญิง ๑๘๑,๖๐๐คน เพศชาย ๒๕๖,000 คน แยกเป็นอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ๔๓๓,๖๐๐คนและอายุไม่เกิน ๑๕ ปี๔,900 คน ขณะที่ข้อมูลของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย รายงานเมื่อสิ้นปี๒๕๕๙ ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่๒,๒๐๐คนเฉลี่ยวันละ๑๗คน ตลอดทั้งปีมีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตกว่า ๑๕,000 คน เฉลี่ยวันละ ๔๓ คนโดยเป็นกลุ่มชายรักชายมากที่สุด พบสถิติการติดเชื้อเอชไอวีที่น่าเป็นห่วง จากรายงานสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าร้อยละ ๗๐ของการแพร่เชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นในคนอายุประมาณ๑๕-๒๔ ปีและพบสถิติว่าวัยรุ่นจํานวนมากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแบบไม่ป้องกัน ส่วนข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและการสํารวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีบ่งชี้ว่า ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งผลสําเร็จดังกล่าวมาจากการเข้าถึงการตรวจรักษาการได้รับ ยาต้านไวรัสเอชไอวีเร็ว อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ และกลุ่มทหารเกณฑ์คัดเลือกใหม่เข้า ประจําการ อายุ ๒๐-๒๔ ปี กลับมีแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้นสอดคล้องกับพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเยาวชนที่มีคู่เพศสัมพันธ์หลาย คนและไม่ป้องกันเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทําให้เยาวชนติดเชื้อเอชไอวีและไม่ทราบสถานการณ์ติดเชื้อของตนเอง จากที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมลงพื้นที่ให้ความรู้ และการสร้างความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีว่าจากการลงพื้นที่ให้ความรู้กับเด็ก ๆและเยาวชนในเรื่องเพศศึกษาอนามัยเจริญพันธุ์ และเอชไอวี พบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ ได้รับเชื้อเอชไอวีเนื่องจากไม่มีความรู้ในเรื่องการป้องกันและอายที่จะพกอุปกรณ์ป้องกัน จึงไม่ตระหนักและไม่เข้าใจในการ ป้องกัน ดังนั้นศูนย์องค์รวมกลุ่มใจเป็นสุขโรงพยาบาลวานรนิวาสจึงพยายามให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามถึงแม้กลุ่ม , องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆพยายามเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงเยาวชนได้ ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ นอกจากปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัญหาคือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ติดเชื้อและ ทารกเกิด มาพร้อมกับเชื้อเอชไอวีเนื่องจากมารดาไม่ตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่องและไม่ทานยาต้านไวรัสเอชไอวีรวมถึงเกิด จากการที่ วัยรุ่นโดนล่วงละเมิดทางเพศปัญหาที่ตามมาคือ วัยรุ่นเหล่านั้นขาดความรู้ที่เท่าทัน ไม่รับการรักษา ทําให้เด็กที่เกิดมาต้องรับการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีออกมาด้วย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจของแม่และเด็ก


นอกจากนั้นแล้วก็พบว่าสื่อและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เอื้อต่อการทําให้เยาวชนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรรวมทั้ง เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ค่อนข้างมาก โดยขาดการตระหนักจากสภาพปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดและแนวโน้มการเกิดโรคที่ เปลี่ยนจากกลุ่ม เสี่ยงมาเป็นวัยรุ่นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์โดยขาดการป้องกันซึ่งจะส่งผลต่อการเกิดโรค เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิด ปัญหาสังคม

ส่วนสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ของอําเภอวานรนิวาสที่ยังรับการรักษาในปี ๒๕63 มีจํานวน
529รายตามลำดับ สําหรับข้อมูลของตําบลเดื่อศรีคันไชยพบว่า มีจํานวนที่ยังคงรักษา 79 รายโดยมีจํานวนผู้ป่วยรายใหม่ ในปี 2563 จํานวน 4 ราย คิดเป็น ร้อยละ 5.19 ของผู้ป่วยรายใหม่อําเภอวานรนิวาสในปี ๒๕๖๒ พบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีพบในกลุ่มเยาวชนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งพบในกลุ่มวัยทํางานด้วย ดังนั้นทางศูนย์องค์รวมใจเป็นสุขได้เห็นความสําคัญของปัญหานี้ และเพื่อให้ประชาชนในตําบลเดื่อศรีคันไชย ได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และช่วยกันสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ให้เป็นภูมิคุ้มกันสําหรับการป้องกันการติดเชื้อ หรือการแพร่เชื้อเอชไอวี รวมทั้ง การยุติปัญหาการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี จึงได้ขอรับ การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพตําบลเดื่อศรีคันไชยประจําปี ๒๕63เพื่อจัดโครงการ รับรู้ เข้าใจ รู้เร็วรู้ทัน ป้องกันเอดส์ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษา และทราบผลกระทบจาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษา และทราบผลกระทบจาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

3.00 1.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายประสานความร่วมมือในการป้องกันไม่ให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และแก้ปัญหาการมีเพศก่อนวัยอันควรของเยาวชน

สร้างเครือข่ายประสานความร่วมมือ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

1.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมและรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

เพื่อส่งเสริมและรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆร้อยละ ๘๐

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
19 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้ 0 20,000.00 -
  1. จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางแผนการดําเนินโครงการ
  2. ประสานงานจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์
  3. ประชาสัมพันธ์ ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม
  4. ประสานงานจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์
  5. จัดอบรมความรู้เรื่องโรคเอดส์ ระยะเวลา 1 วันเพื่อปรับพฤติกรรมด้านการป้องกันเอดส์ และ โรคติดต่อทาง   เพศสัมพันธ์
  6. การติดตามและประเมินความพึงพอใจของเยาวชนแกนนํา นักเรียน
  7. สรุปผลการดําเนินโครงการในภาพรวม
    8.จัดทําสรุปรายงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการควบคุมป้องกันโรค
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สะท้อนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่องเพศศึกษาและทราบ ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  4. ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดการตาย ลดการตีตราในชุมชน
  5. มีเครือข่ายประสานความร่วมมือในการป้องกันไม่ให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และแก้ปัญหา การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 16:04 น.