กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพประชาชนจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รหัสโครงการ 64-L1521-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 11,995.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี บัวขำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 11,995.00
รวมงบประมาณ 11,995.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง  โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ประชาชนตำบลกะลาเส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดออกาโนฟอสและคาร์บาร์เมทได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ
จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดตรัง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ถึง ๒๕๖๒ พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง อยู่ระหว่างร้อยละ ๑๐.๖๓ – ๒๔.๙๕ และในปี ๒๕๕๒ มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จังหวัดตรังได้ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยรางจืดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวได้ผลดี โดยทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับไปเป็นกลุ่มปกติ ถึงร้อยละ ๙๓.๕ -๙๕.๐ จังหวัดตรังได้กำหนดยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อรองปัญหาสุภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคือกลุ่มวัยแรงงาน เนื่องจากกลุ่มนี้คือกำลังหลักของสังคมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสถาบันครอบครัว ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนผู้บริโภค ได้รับการเจาะเลือด ตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายโดยวิธี Reactive Paper test ๑.เพื่อให้ประชาชนทุกคนที่ตรวจพบภาวะเสี่ยง ในระดับ มีความเสี่ยงและ ระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเลือดหาปริมาณสารเคมีตกค้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2.จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย เข้าสู่กระบวนการขับสารพิษด้วยสมุนไพรรางจืดและมีผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 มีผลเลือดดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 11,995.00 0 0.00
15 เม.ย. 64 - 15 ก.ย. 64 1.จัดเตรียมข้อมูล 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 3.จัดทำไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์ 4.จัดประชุมให้ความรู้พิษภัยสารเคมี 150 11,995.00 -
  1. วิธีดำเนินการ   ขั้นเตรียมการ ๑.จัดเตรียมข้อมูล ๒.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรและบุคลากร และงบประมาณเพื่อ   - ประชุมชี้แจงโครงการ   - จัดหาวัสดุชุดเจาะเลือดตรวจคัดกรองและแบบคัดกรอง   - จัดหาสมุนไพร รางจืด   ขั้นดำเนินการ ๑.จัดทำไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ดังนี้ หมู่ 2 จำนวน 1 ผืน,หมู่ 3 จำนวน 1 ผืน,หมู่ 4 จำนวน 1 ผืน,หมู่ 6 จำนวน 1 ผืน,    และหมู่ 7 จำนวน 1 ผืน ๒.จัดประชุมให้ความรู้ พิษภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนผู้บริโภค และสัมภาษณ์คัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้น 3.กิจกรรมตรวจคัดกรองตรวจเลือดกลุ่มเป้าหมาย   - เจาะเลือดคัดกรองความเสี่ยง
    4.ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกรายในรายที่ตรวจพบการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชที่มีสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย เข้าสู่กระบวนการบำบัดพิษ ด้วยสมุนไพรรางจืดต่อเนื่องอย่างน้อย 10 วัน 5.ติดตามและเจาะเลือดซ้ำ กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรรางจืดภายใน 1 เดือน   ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน ๑.เจ้าหน้าที่ประชุมสรุปผลโครงการ ๒.รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องปลอดภัยและประชาชนเกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพที่ดี
  2. ทำให้เกษตรกรได้ทราบสถานการณ์ความเสี่ยงสุขภาพจากสารเคมีตกค้างในร่างกายเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมการลดผลกระทบจากโรคที่สืบเนื่องจากพิษสารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 13:31 น.