กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสียงสูง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1521-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,972.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี บัวขำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 12,972.00
รวมงบประมาณ 12,972.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบ  ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุ จากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า นอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าว ซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรความดันโลหิตสูง สถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่ หมู่ที่ ๒, ๓,๔,๖ และ ๗ ตำบลกะลาเส ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน ๓๙ คน , ๒๘ คน และ ๒๖ คนตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย ๕๕๑.๗๐ ต่อแสนประชากร,๓๙๓.๔๒ ต่อแสนประชากร และ ๓๖๔.๒๙ ต่อแสนประชากรตามลำดับ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน ๙๙ คน,๑๐๘ คน และ ๘๓ คนตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๔๐๐.๔๘ ต่อแสนประชากร ๑,๕๑๗.๔๙ ต่อแสนประชากร และ ๑๑๖๒.๙๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ
ดังนั้นด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเสจึงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในกลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีระดับน้ำตาล  ในเลือดและระดับความดันโลหิตเกินเกณฑ์มาตรฐานเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๔ เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ๒.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีระดับน้ำตาลในเลือดระดับความดันโลหิตลดลง

๑.กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๒.กลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคเบาหวาน มีผลตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (≤ ๑๐๐mg %) ร้อยละ ๔๐ ๓.กลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคความดันโลหิตสูง มีผลตรวจวัดระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ (≤๑๓๐/๘๕ mmHg) ร้อยละ ๔๐

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 12,972.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 ๑.จัดทำโครงการ ๒. ประสานวิทยากร ๓.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ๔.ติดตามการเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (DTX) ๕.กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัวโดยการสุ่มตรวจ 50 12,972.00 -

วิธีการดำเนินการ ๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลกะลาเส ๒. ประสานวิทยากรและจัดเตรียมอุปกรณ์และเอกสารในการดำเนินการ ๓.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ -ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว (DTX) -ทดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรมกลุ่มเป้าหมาย -อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
-อบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคและฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด ๔.ติดตามการเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (DTX)และตรวจวัดความดันโลหิตซ้ำเป็นเวลา ๓ เดือน
-ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะ (DTX) งดน้ำงดอาหาร เดือนละ ๑ ครั้ง
-ตรวจวัดระดับความดันโลหิต โดยนัดกลุ่มเป้าหมายมาวัดความดันโลหิตเดือนละ ๒ ครั้ง
๕.กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัวโดยการสุ่มตรวจระดับความหวานและความเค็มในอาหารที่กลุ่มเสี่ยงสูงรับประทาน (เฉพาะกลุ่มที่มีผลระดับค่าน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในเลือดไม่ลดลง จากการติดตามตรวจระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไปแล้ว ๑ เดือน) โดยใช้เครื่องมือตรวจระดับความหวานและความเค็ม  ในอาหาร พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำที่เหมาะสม ๖.กิจกรรมประชุมสรุปผลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-แจ้งผลการติดตามการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต -แจ้งผลกิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัว
-แบ่งกลุ่มย่อยสรุปปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม -สรุปผลการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๗.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีสุขภาพดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเกิดบุคคลต้นแบบ ในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 15:27 น.