กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างการตื่นรู้ คนทุ่งตำเสา ป้องกันภัยโควิด-๑๙
รหัสโครงการ ปี2564-L5275-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 731,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3333 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ๒๐๑๙ เป็นกลุ่มเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน อาจมีอาการรุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไตวายหรืออาจเสียชีวิตได้ เริ่มต้นที่ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ และต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic)  เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันรายแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ประกาศ ให้โรคโควิด-๑๙ เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ฉบับที่ ๑ ประกาศบังคับใช้ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓และขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เนื่องจากสถานการณ์พบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเป็นระลอก โดยการระบาดระลอกใหม่ในรอบเดือนเมษายน ๒๕๖๔ ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยมากในระยะแรก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวัง ป้องกันตัวเอง จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร มีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่องจากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด หรือตลาด ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติของประชาชน และระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีแนวโน้มการควบคุมให้ดีขึ้น อาจต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน อาจทำให้คนในสังคมที่ร่วมต่อสู้กับภาวะวิกฤติการระบาดของโรค มีโอกาสเกิดความกดดัน ความเครียดและความวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนไทยเป็นจำนวนมาก โดยจะเห็นได้จากปัญหาด้านสุขภาพจิต และจิตเวชที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการสำรวจภาวะเครียด (Stress) ของกรมสุขภาพจิต พบว่าบุคลากรสาธารณสุข 8 ใน 10 คน และประชาชน 4 ใน 10 คน มีความเครียดและกังวลจากการทำงาน ซึ่งมีแนวโน้มทำให้บุคลากรสาธารณสุข มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง หมดหวังสูญเสียพลังทางจิตใจและนำไปสู่ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ (Burnout) สำหรับประชาชนอาจเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นและอาจเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมีนาคม โดยเมื่อเปรียบเทียบข้อมูล ของปี 2562 กับ ปี 2563 พบว่าจำนวนประชากรที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ (Suicide) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20         สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ ข้อมูล ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม ๘๘,๙๐๗ ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม ๔๘๖ ราย สถานการณ์ประจำวัน เฉพาะวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่เพิ่ม ๑,๙๘๓ ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ ๑,๙๗๔ ราย เสียชีวิตเพิ่ม ๓๔ ราย ในพื้นที่จังหวัดสงขลา สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ ข้อมูล ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน ๘๖๘ ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ ๘๖๔ ราย เสียชีวิต ๓ ราย ส่วนสถานการณ์อำเภอหาดใหญ่ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน ๖๒๓ คน เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา จำนวน ๑๑ ราย ข้อมูล ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ซึ่งตำบลทุ่งตำเสาพบผู้ป่วยยืนยันรายแรก ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นผู้สัมผัสเชื่อมโยงกับผู้ป่วยยืนยันจากกลุ่มสถานบันเทิงภายในอำเภอหาดใหญ่ และพบรายงานผู้ป่วยยืนยันอย่างต่อเนื่อง  โดยพบว่าผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาทั้งหมด มีการเชื่อมโยงการเดินทางสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันจากพื้นที่เสี่ยง กลุ่มการระบาดในสถานบันเทิงและสถานบริการอื่นๆที่ตั้งอยู่ภายในอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ข้างเคียงทั้งสิ้น ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่โดยรวม สร้างความตื่นตระหนกถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ด้านการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรคมิให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง จากการลงตรวจประเมินตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ระลอกใหม่ในสถานประกอบการร้านอาหาร/สถานที่จำหน่ายอาหารและตลาดนัดทั้ง ๗ แห่งในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาของเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา โดยคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (ศปก.ทม.ทุ่งตำเสา) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๖ – ๒๓ เมษายน ๒๕๖๔ และติดตามประเมินซ้ำ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน - ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ พบว่าสถานประกอบการร้านอาหาร มีการดำเนินการตามมาตรการ    ที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ทั้ง ๒ รอบ และจากการประเมินประชาชนผู้เข้าใช้บริการตลาดนัดทั้ง ๗ แห่ง ซึ่งถือเป็นสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนหมู่มากในพื้นที่ พบว่าประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค เช่น การสัมผัสเลือกซื้อสินค้าโดยไม่มีการล้างมือก่อนและหลังสัมผัส สวมใส่หน้ากากที่ผิดวิธี เช่นดึงหน้ากากลงขณะพูด หรือสวมหน้ากากไว้ใต้คาง ประกอบกับผลการประชุมของคณะทำงานเพื่อตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ ตำบลทุ่งตำเสา ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานศปก.ทม.ทุ่งตำเสา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบลทั้ง ๓ แห่ง โดยปัญหาและความต้องการด้านการป้องกันโรคในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน ที่ส่งผลต่อการป้องกันโรค คือมีวัสดุ/อุปกรณ์ในการป้องกันโรคที่ไม่เพียงพอ ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้และความตระหนักต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ประชาชนในพื้นที่ มีความวิตกกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัยกรณีที่ทราบว่ามีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือผู้ป่วยยืนยันมากักกันตนเองอยู่ในชุมชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้างเมื่อเกิดการแพร่ระบาดทำให้ต้องหยุดงานและขาดรายได้       พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๓ (๑) บัญญัติให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามกิจการที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๔) มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖(๑๙) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว และการรักษาพยาบาล ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ฉบับที่ ๒๒ ข้อกำหนด ข้อ ๑ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
    ดังนั้นเพื่อมิให้เหตุการณ์ระบาดของโรคอันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ทวีความรุนแรงมากขึ้น สามารถยุติการระบาดได้โดยเร็ว ประชาชนปลอดภัยจากโรคและผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิต วิถีใหม่ (New Normal) งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการสร้างการรับรู้ คนทุ่งตำเสาป้องกันภัยโรคโควิด-๑๙ ขึ้น เพื่อสื่อสารข้อมูลความเสี่ยง และประเมินผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนตำบลทุ่งตำเสาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙      เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ ที่ภาครัฐกำหนด

๑) ร้อยละ ๑๐๐ ประชาชนมีความรู้เรื่องการปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT และเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตนตามวิถี New Normal ๒) ร้อยละ๗๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

0.00
2 ๒. เพื่อประเมินสุขภาพ และผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙

๑) ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิต

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3333 731,600.00 0 0.00
31 พ.ค. 64 ๑ วางแผนการดำเนินงาน ๑.๑ วิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และจัดทำแผนงานโครงการฯ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรม “เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ” 3,333 731,600.00 -

ขั้นตอนการวางแผน   ๑. วิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา แนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น และข้อมูลผลการประชุมของคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตำบลทุ่งตำเสา ในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายและรูปแบบการแก้ไขปัญหา 1.  ๒. วางแผนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และจัดทำแผนงานโครงการฯ   ๓. เสนอแผนงานโครงการต่อผู้บริหารเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติการดำเนินโครงการ ขั้นตอนดำเนินงาน   ๔. กิจกรรม “เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ” ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน ๒๕๖๔
2.    ๔.๑ แต่งตั้งคณะทำงานเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย บุคลากรจากเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง ๓ แห่ง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข 3.    ๔.๒ ประชุมชี้แจงคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการประเมินสุขภาพ แผนการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา 4.    ๔.๓ ลงพื้นที่จัดกิจกรรม “ เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ” ร่วมกับภาคีเครือข่าย ตามแผนการดำเนินงาน  แนวทางที่กำหนด ดังต่อไปนี้
5.      ๑) ประเมินสุขภาพ รับฟังปัญหาและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนกลุ่มวัยทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในระลอกเดือนเมษายน
6.      ๒) ประเมินสุขภาพ ผลกระทบ ความคาดหวังและความต้องการการดูแลด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่      ในประชาชนกลุ่มที่ต้องกักกันตนเองที่บ้าน ๑๔ วัน (HQ) 7.      ๓) สื่อสารข้อมูลความเสี่ยงและคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามมาตรการป้องกันโรคโดยเน้นวิธีการสวมใส่หน้ากากที่ถูกวิธีเมื่อออกนอกเคหะสถาน การเลือกใช้หรือซื้อหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส รวมถึงแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องทั้งภายในและภายนอกที่อยู่อาศัย ตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา      แก่ประชาชนทุกครัวเรือน 8.  ๕. จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับการป้องกันโรค ประกอบด้วย หน้ากากอนามัย เจลหรือแอลกอฮอล์ สำหรับสาธิตและเป็นตัวอย่างให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการเลือกซื้อวัสดุป้องกันโรค    ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ให้แก่ตนเองและครอบครัว 9.  ๖. รวบรวมและสรุปผลการประเมินสุขภาพ ปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในช่วงสถานณ์การการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พร้อมส่งคืนข้อมูลสุขภาพให้แก่ภาคีเครือข่ายในการจัดบริการอย่างเหมาะสม   ๗. ติดตาม ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลต่อผู้บริหารเทศบาล และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนทุกครัวเรือนในตำบลทุ่งตำเสา มีความรู้ และสามารถคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้  ในการป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
  ๒. ประชาชนทุกครัวเรือนได้รับการดูแลสุขภาพจากเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ   ๓. มีข้อมูลสุขภาพของประชาชนตำบลทุ่งตำเสาในสถานณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙   ๔. มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-๑๙ ในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 10:31 น.