กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมโรคและป้องโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลสะเอะ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L4114-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมควบคมโรคเข้มแข็งตำบลสะเอะ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 53,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรูสมัน มูเลง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 31 ก.ค. 2564 53,750.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 53,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ยังคงมีความสำคัญในระดับประเทศ ได้แก่ โรคติดต่อ ซึ่งมีทั้งโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.2555 – 2563 พบว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบการระบาดของโรคตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายที่พาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต้องเตรียมความพร้อมการควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงในพื้นที่ ส่วนการติดต่อของโรคไข้มาลาเรีย มียุงก้นปล้องเป็นพาหะนำโรค การระบาดของโรคมาลาเรียเกิดขึ้นได้ในบริเวณแถบชายแดน หรือบริเวณที่เป็นป่าเขา โดยมียุงก้นปล้องที่มีเชื้อในต่อมน้ำลายกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดคน ซึงเป็นวิธีธรรมชาติทีพบได้มากที่สุด สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่ตำบลสะเอะในช่วง 5 ปีย้อนหลัง จำนวน 59 ราย ตั้งแต่ปี 2559 – 2563 มีจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 13,7,10,21 และ 8 ราย ตามลำดับ ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่ตำบลสะเอะในช่วง 5 ปีย้อนหลัง จำนวน 229 ราย ตั้งแต่ปี 2559 – 2563 มีจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 25,22,26,95 และ 61 ราย ตามลำดับ ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และมีแนวโน้มการะบาดของโรงที่สูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี ดังนั้น ชมรมควบคุมโรคเข้มแข้งตำบลสะเอะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเอะ และองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลสะเอะ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือของโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียก่อนฤดูกาลระบาด เพื่อลดอัตราป่วย และการค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ เพื่อป้องกันการะบาดของโรคและลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการเป็นโรคติดต่อ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน 2.เพื่อลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อมารดาและทารกทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และสามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเองหลังคลอดได้
  1. เพื่อลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียในพื้นที่ตำบลสะเอะ
  2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพคณะทำงานชมรมควบคุมโรคเข้มแข้งตำบลสะเอะ

  3. เพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 637 53,750.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมพ่นหมอกควันและสารเคมีตกค้าง 15 9,000.00 -
17 ก.ย. 64 จัดประชุมคณะทำงานด้านควบคุมโรคตำบลสะเอะ 20 2,400.00 -
7 ธ.ค. 64 การผลิตโลชั่นทากันยุงใช้เอง จำนวน 500 หลอด 500 7,000.00 -
24 ธ.ค. 64 กิจกรรมรณรงค์ การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุงก้นปล้อง ในพื้นที่ระบาด 50 2,750.00 -
24 ธ.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในกลุ่มแกนนำเยาวชน (ยุวมาลาเรีย) 25 3,925.00 -
25 - 30 ธ.ค. 64 กิจกรรมพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการและสถานศึกษาเอกชน 7 24,400.00 -
30 ธ.ค. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อทอดบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์ ทำโปสเตอร์ และแผ่นพับ 20 4,275.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
  2. ลดอัตราป่วย ด้วยโรคมาลาเรียลงร้อยละ 20 จากปีที่ผ่านมา
  3. คณะทำงานชมรมควบคุมโรคเข้มแข้งตำบลสะเอะ มีศักยภาพในการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เกิดเครือข่ายในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงระดับตำบล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 11:32 น.