กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยโรงพยาบาลรัษฎา
รหัสโครงการ 64 -L1515- 01 –11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรัษฎา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,976.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (Covid-19) ให้อยู่ในระดับ “สูงมาก” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยให้เหตุผลว่ายอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการลุกลามไปในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร สนับสนุนการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ผู้ป่วยผู้ติดเชื้อบางรายจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่อาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เสียชีวิดได้   สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่ามีการระบาดไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อรวม 169,623,481 ราย มีผู้เสียชีวิต 3,525,023 ราย (ข้อมูล ณ 28 พฤษภาคม 2564) อีกทั้งในหลายๆประเทศ ยังมีการระบาด และยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 มียอดติดเชื้อสะสม 144,976 ราย เสียชีวิต 954 ราย กำลังรักษาอยู่ 46,150 ราย อาการหนัก 1,226 ราย (ใส่เครื่องช่วยหายใจ 405 ราย) ในขณะที่จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยสะสม 344 ราย เสียชีวิต 1 ราย กำลังรักษา 64 ราย รักษาหายแล้ว 279 ราย แนวทางลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประการหนึ่งคือ เร่งการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้าง "ภูมิคุ้มกันหมู่" โดยรัฐบาล ได้ประกาศให้เป็น "วาระแห่งชาติ" พร้อมกำหนดให้วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นจุดเริ่มต้น ในการฉีดวัคซีน ซึ่งในจังหวัดตรัง กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน ทั้งสิ้น 158,350. คน อำเภอรัษฎา จำนวน 17,923 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีน ในตำบลหนองปรือจำนวน 4,706 คน
        เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐ และการประสานความร่วมมือในการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ ตาม ข้อ ๑๐/๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบามต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ โดยทางโรงพยาบาลรัษฎา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีความจำเป็นในการรณรงค์และเร่งรัดให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอรัษฎา ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรตามกลุ่มเป้าหมาย อันจะส่งผลในการลดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป ทางโรงพยาบาลรัษฎา จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองปรือ เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 และประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีน ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 (Covid-19)

ร้อยละ 100 ของสถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่บริการวัคซีนโควิด - 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ (Covid-19)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด – 19 ตามเป้าหมาย

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4706 19,976.00 1 19,976.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ส.ค. 64 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ 4,706 19,976.00 19,976.00
  1. ขั้นเตรียมการ   1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน   1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ   1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 จัดทำป้ายความรู้เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019
      2.2 จัดเช่าเต็นท์ อุปกรณ์ต่างๆ เตรียมสถานที่ให้บริการวัคซีน   2.3 ให้บริการวัคซีน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ

  3. ขั้นสรุปโครงการ   3.1 สรุปผลโครงการ   3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ โควิด – 19
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการวัคซีนโควิต – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 15:27 น.