กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลมะเร็ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารีเปาะ เวาะแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ตระหนักการคัดกรองมะเร็งปากมดลูดและเต้านมได้
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา มีการสรุปสถานการณ์โรคมะเร็งของประเทศไทยพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ 1 ของคนไทย ต่อเนื่องนานกว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิต จากโรคมะเร็ง ปีละประมาณ 60,000 รายหรือเฉลี่ย 7 รายต่อชั่วโมง ซึ่งจากสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในประชากรไทย พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอับดับสองของมะเร็งในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกพบมากในผู้หญิงอายุ 30 – 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวกแต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ เขินอาย มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องท้าการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมากการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จากสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมะเร็งตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563
โดยอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี พบว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จากผลการดำเนินงานคือ ร้อยละ 9.3 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ซึ่งต้องดำเนินการตรวจให้ได้ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายในทุกๆปี และอัตราการตรวจมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี พบว่าผ่านมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จากผลการดำเนินงานคือ ร้อยละ 89.9 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่งจึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-60 ปีและคัดกรองเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

ร้อยละ 100 สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

2.00 1.00
2 ๒. เพื่อให้ อสม.และแกนนำมีความรู้ในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้

ร้อยละ 100 อสม.และแกนนำมีความรู้ในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้

2.00 1.00
3 ๓. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 20 สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

4.00 1.00
4 ๔. เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

3.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,700.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 ขั้นเตรียมการ 0 1,500.00 -
7 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 ขั้นกิจกรรม 0 19,200.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 ขั้นสรุป 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ๒. กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2564 00:00 น.