กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อ (หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า) ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
รหัสโครงการ 64-L1520-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนตรี พลการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มิ.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 24,700.00
รวมงบประมาณ 24,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 900 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกเดือนเมษายน 2564 ซึ่ง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564 ประเทศไทย
พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่ 3,440 ราย (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,353 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 1,087 ราย) เสียชีวิต 38 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 165,462 ราย เสียชีวิตสะสม 1,107 ราย (กรมควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564) สำหรับจังหวัดตรัง พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 164 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 665 ราย เสียชีวิตรวม 1 ราย สำหรับอำเภอวังวิเศษ ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันจำนวน 1 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 46 ราย เสียชีวิตสะสม 1 ราย(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564)   จากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นย้ำในแถลงการณ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันตนเองเพื่อชะลอการระบาดของ โควิด-19 โดยใช้มาตรการ DMHTT คือ อยู่ห่างไว้ (Distancing: D) ใส่มาสก์กัน (Mask Wearing: M) หมั่นล้างมือ (Hand Washing: H) ตรวจให้ไว (Testing: T) และใช้ไทยชนะ (Thai Cha na: T) โดยมาตรการหนึ่งที่สำคัญเน้นย้ำ คือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อเพื่อป้องกันการสัมผัสและลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยจากการพูด ไอ จาม ทั้งนี้ หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจัดได้ว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วปนเปื้อนด้วยเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของบุคคลผู้ใช้ และอาจยังปนเปื้อนเชื้อโรคจากบุคคลที่ป่วย หรือผู้เป็นพาหะนำโรคได้ ถ้าหากหน้ากากอนามัยเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดแยกอย่างถูกวิธี ถูกทิ้งปะปนกับขยะชุมชน จะส่งผลให้พนักงานที่ทำหน้าที่เก็บขนขยะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด 19 และเมื่อขยะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง ก็อาจเพิ่มโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชนทั้งทางน้ำและทางอากาศ นอกจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานเก็บขยะและคนในชุมชนแล้ว ปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่จัดการไม่ถูกต้องยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยมีองค์ประกอบที่ผลิตจากวัสดุที่ ย่อยสลายยาก เช่น โพลีโพรไพลีน (Polypropylene : PP) ซึ่งเป็นพลาสติก ชนิดหนึ่งที่นำมาขึ้นรูปให้เป็นเส้นใยสังเคราะห์แล้วทอให้เป็นแผ่น รวม ไปถึงลวดสำหรับปรับให้เข้ากับโครงจมูกก็ทำมาจากแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก หรือลวดโลหะอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน้ากากอนามัย   ข้อมูลการรวบรวมปริมาณขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ที่กรมควบคุมมลพิษ สำรวจผ่านทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2563 จากทั้งหมด 2,690 แห่ง มีปริมาณขยะ 17.89 ตัน ซึ่งมีการนำหน้ากากอนามัยไปทิ้งในบ่อฝังกลบทั่วไป ร้อยลัะ 25 เผาในเตาขยะติดเชื้อร้อยละ 9 จ้างเอกชนรับกำจัดร้อยละ 8 และรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำจัดถูกวิธีเพียงร้อยละ 51 ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการจัดการขยะติดเชื้อ ควรเน้นการจัดการขยะที่ต้นทาง คือ
การสร้างความตระหนักและให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวง2020ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกรุงเทพมหานครได้ออกมา ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนว่าสามารถทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธีได้อย่างไรรวมทั้งประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมืออย่างจริงจังให้ประชาชนคัดแยกและทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี โดยแนะนำให้ประชาชนนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว พับ บรรจุใส่ถุงที่ปิดสนิท มัดปากถุงให้แน่น พร้อมและเขียนหรือติดหน้าถุงว่า “หน้ากากอนามัย” เพื่อให้รถเก็บขนขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป   องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า โดยดำเนินการติดตั้งถังขยะติดเชื้อครอบคุลมทั้ง 15 หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลอ่าวตง เพื่อรองรับขยะติดเชื้อและนำไปกำจัดตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ในการทิ้งหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตงจึงจัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคัดแยกขยะ (ขยะติดเชื้อ) ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปยังคนในชุมชน ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ รวมทั้งลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการทิ้งหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี

ประชาชนได้รับความรู้และแผ่นสติ๊กเกอร์ความรู้
ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อาจเกิดขึ้นจากขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า

ปริมาณหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ที่ปะปนในขยะทั่วไปมีแนวโน้มลดลง (ประเมินด้วยรายงานจากคนงานประจำรถบรรทุกขยะ)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 14431 24,700.00 3 24,700.00
4 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 เสียงตามสาย 10,927 0.00 0.00
4 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 มอบแผ่นสติ๊กเกอร์ความรู้ 3,500 17,500.00 17,500.00
4 มิ.ย. 64 ประชาสัมพันธ์วิธีทิ้งหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าใช้แล้วที่ถูกต้อง 4 7,200.00 7,200.00

ขั้นตอนวางแผนงาน
  1. วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ติดต่อประสานไปยังผู้นำชุมชนทั้ง 15 หมู่บ้าน
  4. จัดซื้อจัดจ้างแผ่นความรู้และไวนิลประชาสัมพันธ์การทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  1. ให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้านเกี่ยวกับโรคโควิด 19 การป้องกันตนเอง และการจัดการขยะ (การทิ้งหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี) ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19   2. มอบแผ่นความรู้ การทิ้งหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี   3. ติดตั้งป้ายไวนิลให้ความรู้ การทิ้งหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี ทั้ง 15 หมู่บ้าน ขั้นตอนสรุปผล 1. สรุปผลการดำเนินโครงการเสนอต่อผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถคัดแยกขยะ และทิ้งหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าได้อย่างถูกวิธี
  2. สามารถลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 10:38 น.