กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างการรับรู้ และควบคุมโรคCOVID-19 ตำบลช้างให้ตกปีงบประมาณ2564
รหัสโครงการ 2564-L2976-05-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัดองค์การส่วนตำบลช้างให้ตก
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิชัย ช่วยทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.672,101.062place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน โดยพัฒนาศักยภาพและกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ท้องถิ่นมีบทบาทสามารถรับผิดชอบในการบริหารจัดการ บริการสาธารณะ ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการขอ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2663 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นคราวๆออกไปอย่างต่อเนื่อง และมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชาการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับ 17) ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งระบาดแบบกลุ่มก้อนในเขตหลายเขตพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อการสกัดและยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับสถานการณ์กรณีมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เกิดประสิทธิภาพมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ COVIC-19 นั้นถือว่าจำเป็นอย่างมาก การสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน และขอความร่วมมือภาคประชาชนและภาคสังคมทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ผู้จัดกิจกรรม และผู้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร ร้านค้าฯ ฯลฯ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัง คือ สามหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทำความสะอาดพื้นที่ผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย เว้นระยะห่าง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น และใช้แฟลตฟอร์ม ไทยชนะในการเข้าออกสถานที่สาธารณะ เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก จึงได้จัดทำโครงการสร้างการรับรู้ และควบคุมโรคCOVID-19 เพื่อช่วยเฝ้าระวังและควบคุมเชื้อโรคได้ และตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโวรัสโคโรนา COVID-19 ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก เป็นเงิน 100,000 บาท

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรค COVIC-19 ระลอกใหม่ 2. เพื่อเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVIC-19 ในพื้นที่ตำบลช้างให้ตก

1.ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค COVIC-19 ร้อยละ 90 2.สถานที่ต่างๆและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลช้างให้ตก ได้รับการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1800 100,000.00 0 0.00
15 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโรค COVIC-19 900 12,500.00 -
15 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การสร้างสภาพแวดล้อมและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน หน่วยงาน และสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลช้างให้ตก 900 87,500.00 -

1.ขั้นตอนก่อนดำเนินการ 1.1 เขียนโครงการฯ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 1.2 จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการ โดยกำหนดวัน เวลา สถานที่ 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การสร้างการรับรู้ความเข้าใจการป้องกันการติดเชื้อโรค COVIC-19 2.2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคCOVIC-19 2.3 กิจกรรมสร้างการรับรู้การป้องกันโรค COVIC-19 ให้แก่ประชาชน ร้านค้า ตลาด ร้าอาหาร สถานประกอบการ โดยการสื่อประชาสัมพันธ์กับรถแห่วันละ2 รอบ
3.ขั้นตอนสรุปผล 3.1 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคCOVIC-19 ระลอกใหม่
2.ทำให้เกิดการเฝ้าระวังและควบคุมโรค COVIC-19 ในพื้นที่ตำบลช้างให้ตก ได้ดียิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 16:18 น.