กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง
รหัสโครงการ 64-L5273-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 45,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 พ.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 45,350.00
รวมงบประมาณ 45,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และมีแนวโน้มสถานการณ์ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามแผนงานที่ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้พิการ พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพ ด้านต่าง ๆ คือ สุขภาพกาย จิตใจ/อารมณ์ และสังคมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัว ดังนี้ 1. มีกิจกรรมทางกาย /ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที หรือมีกิจกรรมทางกาย สะสม 150 นาที/สัปดาห์ กิจกรรมทางกายคือการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงาน เพิ่มขึ้นจากขณะพัก ประกอบด้วย การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน การทำงานอาชีพที่ต้องใช้แรงกาย การเดินทางด้วยจักรยานหรือเดินทางฯ 2.การรับประทานผัก ผลไม้สด เป็นประจำทุกวัน 3.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4.ไม่สูบบุหรี่ 5.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ผ่านการประเมินทั้ง 5 ข้อ ถือว่าผ่านการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จากข้อมูลในระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพตำบลฉลุง ณ เดือนตุลาคม 2563 มีผู้สูงอายุจำนวน 883 คน คิดเป็นร้อยละ 10.85 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมร้อยละ 10.58 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงคิดเป็นร้อยละ 0.27 ดังนั้น รพ.สต.ฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง ดังนั้นจึงได้จัดโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุตำบลฉลุง ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่ก่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 500 45,350.00 0 0.00
20 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 9,700.00 -
20 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดกลุ่มพูดคุย/แนะนำให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ 450 35,650.00 -

1.จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม./แกนนำ 2.สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน 3.จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม และประสานงานวิทยากร 4.กิจกรรมอบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเครือข่าย อสม. ประเมินคัดกรองผู้สูงอายุความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา 6.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุติดสังคม ในวันอังคารและวันศุกร์ จำนวน 12 ครั้ง ดังนี้ 6.1ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิต และประเมินภาวะซึมเศร้า 6.2ให้ความรู้หลัก 3อ. 2ส. 6.3ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน 6.4ให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย และส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เช่่น แบบมณีเวช การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบไม้พลอง เป็นต้น 6.5ให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับผู้สูงวัย และประเมินสุขภาพเบื้องต้น 7ทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อสม. และแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบม ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือตามความจำเป็นของแต่ละคน 8.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 09:57 น.