กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.เนินงาม ปี2564
รหัสโครงการ 64-L4160-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เนินงาม
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 82,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาฎีละห์ บินติอิสมาอีล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.508,101.347place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วย สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กร หรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และตามข้อ 10 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้ (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกั้นและ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับ การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ข้อ10/1 กำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ” อีกทั้งปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ช่วงเดือนเมษายนจนถึงปัจจุบัน มีการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อนทำให้ อัตราการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็วและขยายในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อ โควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 1000 คน และเสียชีวิตวันละหลายสิบคน ทำให้การเข้าถึงรักษาพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลเป็นไปอย่างล่าช้า เกิดการรอคอยเตียง ตลอดจนอาการที่แสดงของผู้ป่วยโควิดสายพันธ์ที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้มีระดับความรุนแรงสูงมาก ประกอบกับกำลังของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดทำให้การรักษาบางรายอาจไม่ทันท่วงทีจนทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดยะลา ได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งสถานกักตัวแบบพื้นที่หรือ Local Quarantine (LQ) เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเพื่อรองรับผู้ที่จะถูกกักตัวที่เดินทางมาจากจังหวัดอื่นตามที่สาธารณสุขกำหนดขึ้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม จึงได้จัดทำโครงการเพื่อจัดตั้งสถานที่การกักตัวผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซียและประเทศอื่น ณ ศูนย์แยกกักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วยตำบล ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงทีต่อไปหากเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติขึ้นจริงในพื้นที่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคและระงับยับยั้งการระบาดของโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวที่มีความเสี่ยงใน LQ

เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

100.00
2 2. เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน
  1. เกิดการคัดกรองคนที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน 100%
100.00
3 3. เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชน
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่ได้ความปลอดไม่ลดการเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน       ขั้นตอนวางแผนงาน   1 .ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ           รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ   2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   3. ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน         4. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน           ตำบลเนินงาม       ขั้นตอนการดำเนินงาน
    1. จัดเตรียมพื้นที่ สถานที่ให้พร้อม เพื่อรองรับผู้กักกัน     2. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับผู้กักกัน     3. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด 19     4. ประสานงานกับโรงพยาบาลและฝ่ายปกครองเพื่อรับตัวผู้กักกันเข้าศูนย์กักกัน     5. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%
3. ประชาชนในเขตพื้นที่ได้ความปลอดไม่ลดการเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2564 11:09 น.