กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ L2977-64-02-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลทรายขาว
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 48,852.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฝาติม๊ะ สลำยาตี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.665,101.096place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และคลอบคลุมไปทุกจังหวัด ในส่วนตำบลทรายขาว เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เดือนตุลาคม 62 – เดือนกันยายน 63) พบผู้ป่วย 34 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 899.23 ต่อประชากรแสนประชากร (ประชากรทั้งหมด 3,781 คน) (เกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ อัตราป่วยทั้งปี ไม่ควรเกิน 50 ต่อประชากรแสนคน) หากไม่ได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์ จะทำให้อัตราการเกิดโรคมีเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลทรายขาว ที่ต้องแก้ไขโดยด่วน การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคของตำบลทรายขาวในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนตำบลทรายขาว ได้ร่วมกันรณรงค์ พ่นสารเคมีและกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่สภาพภูมิอากาศ มีฝนตกตลอดปี เอื้อให้ยุงลายมีโอกาสเพาะพันธุ์และแพร่กระจายโรคได้ ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลทรายขาวจึงเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ดำเนินไปด้วยความคล่องตัว และทันต่อเหตุการณ์ เป็นไปตามหลักระบาดวิทยา จึงขอนำเสนอโครงการดังกล่าวมาเพื่อพิจารณา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

 

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

0.00
3 3. เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายของหลังคาเรือนให้มีค่า HI ไม่เกิน 10 และในโรงเรียน วัด มัสยิดให้มีค่า CI เท่ากับ0

 

0.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนในชุมชนมีพฤติกรรมควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามหลัก 5 ป. 1 ข. ที่เพิ่มขึ้น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,852.00 0 0.00
16 มิ.ย. 64 1.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 48,852.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจ ศึกษาชุมชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 1.2ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม. ตัวแทนหมู่บ้าน ในเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการฯ และร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน 1.3 คัดเลือกตัวแทนหลังคาเรือนโดยการสุ่มจากแฟมมิลี่โฟลเดอร์ของ รพ.สต.ทรายขาว หมู่ละ 30 หลังคาเรือน มี 6 หมู่บ้าน ได้ 180 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 928 หลังคาเรือน 1.4จัดทำและขออนุมัติโครงการ

    1. ระยะดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่องค์กรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนรับทราบ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนหลังคาเรือนละ 1 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. ทรายขาว หมู่ละ 30 หลังคาเรือน มี 6 หมู่บ้าน รวม 180 คนและ กำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 6 คนรวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 186 คน และลงพื้นที่เชิงปฏิบัติการเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยแบ่งเป็น 6 ครั้งดังนี้ ครั้งที่ 1 - หมู่ที่ 1 ดำเนินการที่อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 1 ครั้งที่ 2 - หมู่ที่ 2 ดำเนินการที่อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 2 ครั้งที่ 3 - หมู่ที่ 3 ดำเนินการที่ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชน หมู่ที่ 3
      ครั้งที่ 4 - หมู่ที่ 4 ดำเนินการที่อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 4 ครั้งที่ 5 - หมู่ที่ 5 ดำเนินการที่อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 5
      ครั้งที่ 6 - หมู่ที่ 6 ดำเนินการที่อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 6 2.3 จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย และไวนิลสื่อสุขศึกษาโครงการฯ จำนวน 6 ป้าย รวมทั้งหมด 7 ป้าย 2.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน 2.5 สุ่มประเมินความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายโดย อสม. แกนนำสุขภาพ ทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเป็นประจำทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
    1. ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่ในทุกกลุ่มอายุ
    2. ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายของหลังคาเรือนมีค่า HI ไม่เกิน 10 และในโรงเรียน วัด มัสยิดให้มีค่า CI เท่ากับ 0
    3. ชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนมีความตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2564 15:42 น.