กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) (เพิ่มเติม)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรัษฎา
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,668.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1648 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายรัฐบาล ที่ประกาศให้การฉีดวัคซีนและการประสานความร่วมมือในการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาคีทุกภาคส่วนต้องร่วมมือและช่วยกันยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่อำเภอรัษฎา         เครือข่ายสาธารณสุขอำเภอรัษฎาได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดบริการ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการดำเนินการให้บริการกลุ่มผู้รับวัคซีนในพื้นที่อำเภอรัษฎา ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการจัดบริการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจากการจัดบริการ การรับการฉีดวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่วันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2564 ที่มีการให้บริการแก่ประชาชน จำนวน 747 ราย ซึ่งจากการสรุปของทีมให้บริการ ได้มีการเสนอจุดรับบริการให้มีมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น ให้มีการลดความแออัด มีการเว้นระยะห่างทางสังคมมากยิ่งขึ้น มีพื้นที่การรับการฉีดวัคซีนที่ดี มีระยะห่าง และจุดสังเกตอาการที่โล่งกว้าง โดยจากการประชุมของเครือข่ายสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของอำเภอรัษฎา ได้ข้อสรุปในการปรับปรุงจุดให้บริการฉีดวัคซีน โดยใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในระเบียบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ตาม ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ         เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแก้ไขปัญหาการรับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านมา ที่มีการของบประมาณมาก่อนหน้านี้ ทางโรงพยาบาลได้มีการจัดระบบการให้บริการที่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข โดยก่อนเข้าพื้นที่ให้บริการ ต้องวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจล    แอลกอฮอร์ สวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง ซึ่งจากมาตรการดังกล่าว จึงมีการของบประมาณเพื่อเช่าเต็นท์ จัดทำใบยินยอม จัดซื้อน้ำดื่มและผ้าเย็นเพื่ออำนวยความสะดวก และสอดคล้องกับจำนวนผู้มารับวัคซีนรวม 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีน ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด - 19 (Covid -19)

ร้อยละ 100 ของสถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่บริการวัคซีนโควิด -19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ (Covid - 19)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด - 19 ตามเป้าหมาย

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อหารือแก้ไขปัญหา และจัดระบบบริการตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดทำแนวทาง มาตรการให้บริการ 2.2 จัดจ้างเหมาเต็นท์ เพิ่มเติม พร้อมอุปกรณ์ต่างๆเตรียมสถานที่ให้บริการวัคซีน 2.3 ให้บริการวัคซีน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ
  3. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลโครงการ 3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด - 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด - 19
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการวัคซีนโควิด - 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 16:08 น.