กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 – 8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิธนวิถี – เวชกรรมกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยะลา
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมสกนธ์ ศิริมานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและพบว่าผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อัตราการเป็นภาระโดยรวมในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2533- 2553 และค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากปี 2553-2563 เนื่องจากอัตราเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับทดแทนและอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่สูงขึ้นมีผลทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งสัดส่วนและจำนวน ดังนั้นอัตรา การเป็นภาระในวัยเด็กจึงลดลง ในขณะที่การเป็นภาระในวัยชรามีอัตราเพิ่มขึ้น กรมอนามัยได้กำหนดมาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามเกณฑ์สุขภาพอนามัยพึงประสงค์ โรคที่สามารถควบคุมได้ในระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่ หัวใจขาดเลือด โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน โรคข้อเสื่อมวัณโรคจากข้อมูลกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่าประชากรผู้สูงอายุปี 2562 มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.06 ของประชากรทั้งประเทศ จากข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สสจ.ยะลา ปี 2562 ผู้สูงอายุในจังหวัดยะลามีจำนวน 54,605 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 49,762 คน คิดเป็นร้อยละ 91.13ซึ่งอำเภอเมืองยะลามีผู้สูงอายุมีจำนวน 20,126 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 17,654 คนคิดเป็นร้อยละ 87.72 เขตเทศบาลนครยะลามีผู้สูงอายุมีจำนวน 7,869 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 7,109 คน คิดเป็นร้อยละ 90.34 พบว่าผู้สูงอายุเขตเทศบาลมีความเสี่ยงรายด้านที่ต้องเฝ้าระวัง โรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 573 คนคิดเป็นร้อยละ 8.06 จากจำนวนที่คัดกรอง ที่สำคัญ โรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิธนวิถี – เวชกรรม ผู้สูงอายุจำนวน 300 คนที่มารับบริการ มีภาวะข้อเข่าเริ่มเสื่อม จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 4.27 และเสี่ยงภาวะหกล้ม จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 19.33 ดังนั้น กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยะลา เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีความสามารถในการจัดการตนเองและควบคุมโรคต่าง ๆ รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงจัดทำโครงการ ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถเฝ้าระวังข้อเข่าเสื่อมและภาวะหกล้มได้เพิ่มขึ้น
  1. ค่าคะแนนความรู้ภายหลังการอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,600.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมผู้สูงวัย โดยผ่านฐานการเรียนรู้ "ผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ" จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ฐานการเรียนรู้ ข้อเข่าเสื่อม ครั้งที่ 2 ฐานการเรียนรู้ภาวะหกล้ม เป้าหมาย ผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิธนวิถี-เวชกรรม จำนวน 150 คน และศูนย์สุ 0 63,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถเฝ้าระวังข้อเข่าเสื่อมและภาวะหกล้มได้เพิ่มขึ้น
2.ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจและมีทักษะในการจัดการตนเองเมื่อมีภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2564 14:26 น.