กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดย ชมรม อสม.ตำบลคลองปาง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มิถุนายน 2564 - 10 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 11 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยาภัสร์ ทองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์จังหวัดตรัง ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม-27 มิถุนายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 1,634 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนอำเภอรัษฏา พบผู้ป่วย 67 ราย เสียชีวิต 0 ราย (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อำเภอรัษฎา (วันที่ 27 มิถุนายน 2564)  สำหรับตำบลคลองปาง หมู่ที่ 4 บ้านเขาพระ พบผู้ป่วยยืนยันเชื้อรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อ 1 ราย บุคคลที่มีความเสี่ยง 19 ราย ซึ่งเป็นพระจากวัดเขาพระ จำนวน 9 รูป และพระจากวัดโพธิ์น้อย จำนวน 10 รูป ตามรายงานแจ้งสถานการณ์โรคโควิด 19 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง ซึ่งเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนและแนะนำการกักตัว เพื่อเข้ารับการสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน และขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด ประกอบกับสาธารณสุขอำเภอรัษฎาได้มีการประสานให้ดำเนินการบริหารจัดการสถานกักตัวแบบพื้นที่ กักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยง ในพื้นที่ตำบลคลองปาง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง และแก้ไขปัญหาสถานการณ์การระบาดในเบื้องต้น จึงมีความจำเป็นต้องต้องจัดหาอาหารสำหรับกลุ่มเสี่ยง (ผู้กักตัว) ในพื้นที่ ทั้ง 19 ราย     ชมรม อสม. ตำบลคลองปาง  รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาระฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคระบาดได้

ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคระบาดได้

0.00
2 2. เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม

ร้อยละ 100 ประชาชนสามารถช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม

0.00
3 3. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือ ภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

ร้อยละ 100 ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 19 26,600.00 0 0.00
27 มิ.ย. 64 - 10 ก.ค. 64 .กิจกรรมฟื้นฟู กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง อาหารสำหรับกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มกักตัว 19 26,600.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ขั้นเตรียมการ Plan   1.จัดทำโครงการ   2.นำเสนอโครงการ   3.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง 2. ขั้นดำเนินการ Do
  2.1 ดำเนินการตามโครงการ     - ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของทางราชการอย่างเคร่งครัด     - ประชุมคณะทำงานวางแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   2.2 เตรียมสถานที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)     - จัดตั้งจุดคัดกรอง เช่น ตลาด วัด และตลาดในชุมชน
  2.3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์และในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - จัดหาอาหารสำหรับสำหรับผู้ที่ถูกกักตัว วันละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 19 คน คนละ 100 บาท เป็นระยะเวลา 14 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 26,600 บาท     - จัดหาแอลกอฮอล์ เจลล้างมือ และหน้ากากอนามัย ให้เพียงพอต่อจำนวนประชากร     - จัดหาน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อใช้เช็ดทำความสะอาดพื้นผิว เช่น ไฮเตอร์ เป็นต้น 3. ขั้นประเมินผล Check     1.จัดทำการประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ     2.ประชุมผู้เกี่ยวข้องโครงการ เพื่อหาความพึงพอใจและความร่วมมือ 4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข Action     1.ประชุมคณะทำงานสรุปโครงการเพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนา     2.รายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19   2. ประชาชนตำบลคลองปางได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม
      3. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2564 21:49 น.