กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L4141-05-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.สูไวบ๊ะ บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อาคารศูนย์ศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกาอะห์มาดียะห์) ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดยะลาพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องและทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 จังหวัดยะลา ได้มีคำสั่งที่ 60/2564 เรื่องการดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการเพื่อการบังคับใช้มาตราการควบคุมแบบบูรณาการการจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ให้จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด บัดนี้เกิดสถานการณ์ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่มียอดผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก และองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้มีคำสั่ง ที่ 183 /2564 เรื่อง จัดตั้งศูนย์สังเกตอาการโรคสำคัญ (COVID-19) ระดับตำบลขึ้น ลงวันที่ 21 มิถุนายน2564ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังกล่าวข้างต้น จากการจัดตั้งศูนย์สังเกตอาการโรคสำคัญยอดผู้ติดเชื้อ (COVID-19) ระดับตำบลขึ้น ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ เบื้องต้นไม่สามารถรองรับจำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องกักตัวได้ จากยอดผู้ติดเชื้อ จำนวน 17 ราย มีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จำนวน 125ราย (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ณ วันที่ 23 มิถุนายน2564) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังกล่าวข้างต้น จากการติดเชื้อระลอกใหม่ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านพักอาศัยเพื่อสอบสวนโรคได้ จึงจำเป็นต้องมีสถานที่สังเกตอาการเฉพาะกิจเพิ่มเติมขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ไกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันตนอง จากการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19)ตลอดจนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC - 19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

100.00
2 เพื่อการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การเฝ้าระวัง และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ป้องกัน การควบคุม การแพร่ การเฝ้าระวัง และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

95.00
3 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

95.00
4 เพื่อสนับสนุนให้มีการป้องกันโรคระบาด สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

สนับสนุนป้องกันโรคระบาด สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 48 100,000.00 1 99,264.00
30 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 จัดตั้งศูนย์สังเกตอาการโรคสำคัญ (COVID-19) ระดับตำบลเฉพาะกิจ 48 100,000.00 99,264.00

จัดตั้งศูนย์สังเกตอาการโรคสำคัญไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองรับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากออกจากโรงพยาบาลสนามจังหวัดยะลา
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ในศูนย์สังเกตอาการโรคสำคัญ (COVID-19) ระดับตำบลเฉพาะกิจ วัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้กักตัว จัดหาอาหารสำหรับผู้กักตัว และสำหรับ จนท.ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19

  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 11:48 น.