กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L5313-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์กรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 32,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอานีซะห์ ยาหมาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 32,900.00
รวมงบประมาณ 32,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้นเป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการตั้งครรภ์และการเพิ่มตามธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ของงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2563ที่ผ่านมามีผลงานที่สำคัญและเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ดังนี้คือ 1.ภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 13.58อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 6.56การฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 81การฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 75.56 และการ ตั้งครรภ์วัยรุ่นผลงานอยู่ที่ร้อยละ 17.18 ถึงแม้จะถึงเกณฑ์แต่ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้หาวิธีการเพื่อปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงูขึ้น เพื่อพัฒนาการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กต้องมีการปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสมของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกเพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างเต็มที่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ปีงบประมาณ ๒๕๖๔เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการและให้การดูแลครบมาตรฐาน มีสุขภาพที่ดีและคลอดบุตรแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรค์

หญิงตั้งครรภ์/สามี/ผู้ดูแลมีความรู้หลังอบรมโรงเรียนพ่อแม่ มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้ด้านการอนามัยแม่และเด็กสามารถสำรวจ ค้นหา ติดตามกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์  มากกว่าร้อยละ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,900.00 3 32,900.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนพ่อแม่ 0 6,000.00 6,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 จัดอบรมความรู้ให้แก่อสม. 0 7,400.00 7,400.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนชั้น ป.๕-ป.6 0 19,500.00 19,500.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ
1. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
2. จัดประชุมชี้แจ้งเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหารูปแบบการดำเนินงาน
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้             3.1 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการพร้อมสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว
            3.2 อสม. จำนวน ๕๐ คน
            3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่5-6ในเขตรับผิดชอบ

      ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ ๑
1.ดำเนินการให้บริการโรงเรียนพ่อแม่ร้อยดวงใจสานสายใยรักในครอบครัว โดยกำหนดการให้บริการดังนี้ - วันอังคารสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน อบรมโรงเรียนพ่อแม่ 1 (อายุครรภ์ < 28 สัปดาห์) - วันอังคารสัปดาห์ที่ ๔ ของเดือน อบรมโรงเรียนพ่อแม่ 2 (อายุครรภ์ > 32 สัปดาห์) กิจกรรมที่ ๒
2. จัดอบรมความรู้ให้แก่ อสม.เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้ด้านการอนามัยแม่และเด็ก กิจกรรมที่ 3
1จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนชั้น ป.5-ป.6 เรื่องเพศศึกษาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกันและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2โรงเรียนบ้านปากละงูจำนวน 40 คน โรงเรียนบ้านปากบางจำนวน 40 คน 3.โรงเรียนบ้านท่าชะมวงจำนวน 40 คน 4. โรงเรียนบ้านโคกพยอมจำนวน 20 คน 5. โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิดจำนวน 40 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์และสามี/ผู้ดูแล (บุคคลในครอบครัว) มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ ที่ดีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ
2.อสม.มีความรู้ และทักษะ ในการให้การดูแลก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 4. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและง่ายสำหรับการเข้าใจสำหรับวัยรุ่น 5. นักเรียนมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศในวัยรุ่น 6. นักเรียนมีเครือข่ายการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียน ในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 00:00 น.