กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คูเต่าร่วมใจ เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L5272-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูเต่า
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 350,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.วารุจี จุลนวล
พี่เลี้ยงโครงการ คุณดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.133,100.481place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก "Coronavirus disease 2019" เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2555 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและพบว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมร์ส (MERS) ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม 254,204 ราย หายป่วยสะสม 193,477 ราย เสียชีวิต 44 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564) และจากข้อมูลจังหวัดสงขลา สถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ เมษายน 2564 มีผู้ป่วยสะสม 5,308 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล 2,625 คน รักษาหายกลับบ้าน 3,659 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564) และจากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลคูเต่า พบผู้ป่วยสะสม 48 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล 34 คน รักษาหายกลับบ้าน 14 คน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติเขื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การคัดกรอง เฝ้าระวัง การกักกันผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยง กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในศูนย์กักกัน (Local Quarantine) ตลอดจนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด19 อย่างเคร่งครัด " สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ สแกนไทยชนะ" โดย "ไม่ประมาท การ์ดไม่ตก " สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน เว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกฮออล์และสแกนแอปพลิเคชั่น ไทยชนะทุกครั้ง เพื่อการสอบสวนและติดตามหากจำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้บุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยง กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้รับการกักตัว เป็นเวลา14 วัน ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค

 

0.00
3 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสขภาพตำบลคูเต่า กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อสม. โรงเรียนในพื้นที่ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง -ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลคูเต่า อสม. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแนวทางและวางแผนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) -จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และเวชภัณฑ์ให้เพียงพอในการดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและพื้ที่เสี่ยง กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้รับการดูแลตามมาตรฐานของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถปฏิบัติตนในการเฝ้าระวัง สังเกตอาการได้อย่างถูกต้อง 3.ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ 4.ประชาชนและชุมชนมีความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2564 12:47 น.