กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ติดตาม สังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L5253-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 50,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำลอง ประกอบแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสงขลา ประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 252 คน เสียชีวิต 1 คน ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 6,781 คน เสียชีวิต 32 คน จากการติดเชื้อในโรงงาน 72 คน และติดเชื้อในชุมชน 180 คน (สสจ.สงขลา , 11 ก.ค. 64) อำเภอสะบ้าย้อย พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 36 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 210 คน กำลังรักษาใน รพ. จำนวน 143 คน และกลับบ้านแล้ว 67 คน โดยในตำบลเขาแดงพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 5 คน (สสอ.สะบ้าย้อย , 11 ก.ค. 64) จากการเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้คนติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายพื้นที่ออกไปในวงกว้าง ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทั้ง รพ.สต. , อบต. , ผู้นำชุมชน ต้องมีมาตรการการเฝ้าระวัง การคัดกรอง การแยกกัก กักกัน หรือควบคุมไว้สังเกตการเริ่มป่วยอย่างเข้มข้น ตามแนวทางที่คณะกรรมการโรคตดต่อจังหวัดสงขลาได้กำหนด
  ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ร่วมด้วย รพ.สต. และอบต.เขาแดง ได้เล็งเห็นถึงสถาวะอันตรายที่จะเกิดกับประชาชนในพื้นที่ และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ติดตาม สังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เกี่ยวกับมาตรการการป้องกันโรคในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อคัดแยกบุคคลที่เดินทางมาจากต่างพื้นที่ โดยการควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

 

0.00
3 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 50,100.00 0 0.00
19 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ค่าอาหารสำหรับผู้กักตัวที่บ้าน 20 42,000.00 -
19 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้ปฏิบัติงาน 10 8,100.00 -
  1. ประชุมผุ้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจแนวทาง ขั้นตอน ในการสำรวจและจัดทำทะเบียนบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
  2. ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ดำเนินการคัดกรองตามข้อ 1
  3. จัดทีมลงพื้นที่เพื่อติดตามและเฝ้าระวังในรายที่ตรวจพบว่ามีภาวะเสี่ยงตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
  4. ให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ (COVID-19)
  5. จัดหาอาหารและวัสดุอุปกรณ์การป้องกันโรค (COVID-19) สำหรับใช้ในพื้นที่
  6. รายงานผลการดำเนินงานให้ประธานกองทุนฯ ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่เดินทางมาจากต่างพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด
  2. มีการคัดกรองค้นหาบุคคลที่เดินทางมาจากต่างพื้นที่ เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
  3. มีการป้องกันการติดต่อแพร่ระบาดโดยติดตาม เฝ้าระวัง และการแยกสังเกตอาการ ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2564 15:20 น.