กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ รพ.สต.ควนโส ตำบลควนโส ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5170-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโส
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,805.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปวณี มณีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ปราศจากโรคซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปากมิใช่การกำจัดโรคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้เรื่อยไป ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญ คือ โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ โดยโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เกิดได้ในทุกๆกลุ่มอายุจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของประชาชนอำเภอควนเนียง ตั้งแต่ปี 2559-2561 พบว่ามีปัญหาสุขภาพช่องปากจำนวนมากในทุกกลุ่มวัยจึงจำเป็นต้องใช้ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก ร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ จากปัญหาข้างต้นในกลุ่มอายุต่างๆมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี และเหมาะสมไปตามกลุ่มอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ รพ.สต. ควนโส ตำบลควนโส ขึ้นเพื่อช่วยสร้างเสริมป้องกันและรักษาไปพร้อมกัน อันจะช่วยลดปัญหาโรคในช่องปากละส่งเสริมการมีฟันไว้ใช้งานได้ตลอดชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้อยละ 75 ของหญิงมีครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกแปรงฟัน

 

0.00
2 2.ร้อยละ 75 ของหญิงมีครรภ์ได้รับการขูดหินน้ำลาย

 

0.00
3 3.ร้อยละ 70 ของเด็กวัย 0-2 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

0.00
4 4.ร้อยละ 65 ของเด็กวัย 0-2 ปี ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์

 

0.00
5 5.ร้อยละ 80 ของเด็กวัยก่อนเรียน 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากร

 

0.00
6 6.ร้อยละ 80 ของเด็กวัยก่อนเรียน 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ

 

0.00
7 7.ร้อยละ 70 ของเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ต้องอุดฟันโดยเทคนิค SMART ได้รับการอุดฟันโดยเทคนิค SMART

 

0.00
8 8.ร้อยละ 50 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรก

 

0.00
9 9.ร้อยละ 50 ของนักเรียนอายุ 6-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

0.00
10 10.ร้อยละ 50 ของนักเรียนอายุ 6-12 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงโครงการ 1.1 ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตามกลุ่มวัย กลุ่มหญิงมีครรภ์ 1.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกแปรงฟัน 2.กิจกรรมขูดหินน้ำลาย กลุ่มเด็ก 0-2 ปี 1.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก 2.กิจกรรมทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ กลุ่มเด็ก 3-5 ปี 1.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากโดนทันตบุคลากร 2.กิจกรรมทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ 3.กิจกรรมอุดฟันโดยเทคนิค SMART ในเด็กที่มีข้อบ่งชี้ในการอุดฟันเทคนิค SMART
กลุ่มเด็ก 6-12 ปี 1.กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 2.กิจกรรมการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรกในนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 1 2.กิจกรรมการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3.กิจกรรมการเคลือบฟลูออไรด์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 4.กิจกรรมขูดหินน้ำลายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีสุขภาพช่องปากที่ดี 2.กลุ่มเด็กอายุ 0-12ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ 3.เด็กก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและนักเรียนชั้นอนุบาล ที่มีข้อบ่งชี้ต้องอุดฟันโดยเทคนิค SMART ได้รับการอุดฟันโดยเทคนิค SMART 4.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 5.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ได้รับการขูดหินน้ำลาย 6.เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 10:34 น.