กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก รพ.สต.ควนโส ตำบลควนโส ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5170-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโส
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 40,789.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปวณี มณีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอด เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   จากสถิติข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกผ่านมาในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส นำมาเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-พ.ศ.2562 ซึ่งพบว่า ปี 2559 มีผู้ป่วยจำนวน 7 ราย ซึ่งมีค่ามัธยฐาน 5ปีย้อนหลัง โดยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส พบในทุกกลุ่มอายุ อีกทั้งมิได้ระบาดเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้นจึงนับเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส อำเภอควนเนียงจังหวัดสงขลา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและซักนำให้ประชากร ผู้นำในชุมชน และองค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน และความซุกชุมของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับทุกองค์กรในชุมชน และปะชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ มีความรู้ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพร้อมจัดตั้งกลุ่ม อสม.น้อยในตัวแทนกลุ่มเด็กนักเรียน

 

0.00
4 4.เพื่อส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญและมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

0.00
5 5.เพื่อป้องกันและหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกทั้งในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาดและหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
6 6.เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศาสนสถานและชุมชน เพื่อลดความซุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีม SRRT อสม. เจ้าหน้าที่ อบต. ผู้นำชุมชน ครู 3.สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมโรคแบบมีส่วนร่วม 4.ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 5.ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนโดย อสม. และผ่านทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน 6.ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนในโรงเรียน พร้อมจัดตั้งกลุ่ม อสม.น้อย รุ่นที่2      (ปีการศึกษา 2564) ในตัวแทนกลุ่มเด็กนักเรียน 7.รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข  (อสม.)โดยวิธี -ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบท ในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดย อสม.และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด -ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยุง 8.แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 9.จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) เดือนละ1 ครั้งหมุนเวียนกันแต่ละหมู่บ้าน โดยการจำกัดลุกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทำความสะอาดหมู่บ้าน ศาสนสถาน โรงเรียน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลงและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มี 2.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและ มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน ศาสนสถาน โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 10:51 น.