กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน
รหัสโครงการ 65-l5169-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภาณุ จันทร์เมือง เลขานุการคณะกรรมการกองทุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในปี พ.ศ. 2564 เกิดโรคระบาดอุบัตืใหม่ โควิด 19 ทำให้การดำเนินงานต่างๆต้องหยุดชะงัก หน่วยงาน/กลุ่มต่างๆ ไม่สามารถดำเนินงานในลักษณะการรวมกลุ่มได้ ทำให้มีเงินเหลือจ่ายมากขึ้น
50.00
2 ปี พ.ศ. 2563 สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ทุกโครงการ
100.00
3 คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจ แต่ยังไม่ครอบคลุม ต้องมีการพัฒนาศักยภาพ
20.00
4 กลุ่มประชาชนยังไม่ค่อยสนใจที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จึงต่้องประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับกลุ่มต่างๆเพิ่มมากขึ้น
80.00
5 ในปี 2563 สามารถสรุปและส่งรายงาน และปิดโครงการครบทุกโครงการ
100.00
6 ในปี พ.ศ. 2564 มีสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้การประชุมคณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561ลงวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561ประกอบกับปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ.2561 นั้น
ตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ได้กำหนดลักษณะกิจกรรมที่จะของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน ได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ , กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่ , กิจกรรมด้านการสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ , กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ และกิจกรรมการบริหารหรือพัฒนากองทุน ฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลานได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนขึ้น เพื่อนำงบประมาณที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุน จัดเตรียมวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินงานของกองทุนฯ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และตามประกาศฯ ที่กำหนด

1.มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาและติดตามงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี 2.โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 90 %

10.00 95.00
2 2 เพื่อให้คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

1.มีการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี และมีการประชุมคณะอนุกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี

10.00 95.00
3 3 เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ เป็นไปอย่างถูกต้องตามประกาศที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ

1.มีจัดการฝึกอบรม/ส่งเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่กองทุน  อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี 2.จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

10.00 95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 135 100,000.00 4 22,425.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าเบี้ยประชุมตอบแทนคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 20 32,000.00 6,800.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าเบี้ยประชุมตอบแทนคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและประเมินผลฯ 7 8,400.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าเบี้ยประชุมตอบแทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดการบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 12,000.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าเบี้ยประชุมตอบแทนคณะทำงาน/เจ้าหน้าที่ ที่เข้าร่วมประชุม 8 6,400.00 600.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 จัดจ้างอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ 45 5,400.00 600.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน 0 20,000.00 14,425.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม/เดินทางไปราชการ/ศึกษาดูงาน 45 15,800.00 -
  1. ส่งเสริมให้มีการบริหารเงินกองทุนฯ โดยสนับสนุนแก่ผู้รับทุน   1.1 จัดให้เกิดการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อปี(ไตรมาสละ 1 ครั้ง)   1.2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานที่รับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล   1.3 มีการสนับสนุนติดตามประเมินผลคุณค่าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกกองทุนสุขภาพตำบล   1.4 การจัดทำแผนสุขภาพตำบล 4 ปี และทบทวนแผนสุขภาพรายปี แยกตามประเด็นปัญหา   1.5 จัดทำแผนการเงินรับ-จ่าย ประจำปี โดยนำโครงการที่ควรดำเนินการจากแผนสุขภาพมาบรรจุไว้ในแผนการเงิน รายจ่าย
  2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน   2.1 อบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรภาคประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ หน้าที่ของคณะกรรมการ ประกาศฯ   2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการอย่างง่ายเพิ่มการรับโครงการของผู้รับทุน   2.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนสุขภาพตำบล   2.4 การถอดบทเรียนและประเมินคุณค่าโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดไว้
  2. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ / คณะอนุกรรมการกองทุนฯสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การปฏิบัติงานของกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. กองทุนฯมีเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2564 00:00 น.