กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปริกแจ่มใส ปลอดภัยควันบุหรี่
รหัสโครงการ 60-L7889-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2561
งบประมาณ 76,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยปีงบประมาณ ๒๕๕๙
มีเหตุการณ์สำคัญๆด้านการควบคุมยาสูบ ด้วยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2562 โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดลดอัตราการบริโภคยาสูบ และทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ มีแต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด ให้ทุกจังหวัดดำเนินงานควบคุมยาสูบ และจากข้อมูลการสำรวจข้อมูลปี 2558 พฤติกรรมเสี่ยง (Behavioral risk)
การบริโภคยาสูบ จากผลการสำรวจครัวเรือนปี พ.ศ.2558 พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปบริโภคยาสูบจำนวน 10.9 ล้านคน อัตราการสูบคิดเป็นร้อยละ 19.9 ในทุกกลุ่มอายุมีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจากปีพ.ศ. 2556 ยกเว้นกลุ่มอายุ 19-24ปี และ กลุ่มอายุ 41-59 ปี ผู้สูบบุหรี่มีค่าใช้จ่ายจริงของผู้สูบบุหรี่ซองและบุหรี่มวนเองเพียงอย่างเดียวเฉลี่ยประมาณเดือนละ 423 บาทต่อเดือน เรื่องการได้รับควันบุหรี่มือสองพบว่าร้อยละ 36 ได้รับควันบุหรี่ในบ้าน, ร้อยละ 30.5 ได้รับควันบุหรี่ในที่ทำงาน ร้อยละ 25.6 ได้รับควันบุหรี่ในขนส่งสาธารณะสถานที่สาธารณะ มีผู้พบเห็นควันบุหรี่มือสองมาก อันดับแรก ได้แก่ ตลาดสดหรือตลาดนัด, ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่ที่จำหน่ายอาหารเครื่องดื่ม ศาสนสถาน, สถานบริการขนส่งสาธารณะ และอาคารสถานที่ราชการ สถานศึกษา และภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทยในปี พ.ศ. 2558 พบโรค มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้รวม โรคมะเร็ง หลอดเลือดสมอง ไขมัน ความดันโลหิตสูง เทศบาลตำบลปริกมีพื้นที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมทั้งหมด 7 ชุมชนประชากรทั้งหมด 6,500 คน หญิง 3,341 คน ชาย 3,159 คน มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 4,916 คนคิดเป็นร้อยละ 75.63 ของประชากรทั้งหมด จำนวนครัวเรือน 1,901 ครัวเรือน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลปริก ณ เดือนกรกฎาคม 2560) พื้นที่เป็นชนบทอาศัยอยู่กันแบบเครือญาติ เป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีส่วนร่วมการทำงานร่วมกันคิดร่วมค้นหาแนวทางการการแก้ปัญหา การดำเนินกิจกรรมพื้นที่ร่วมกันระหว่างภาคประชาขน ภาคเอกชน และภาครัฐ จากข้อมูลการสำรวจแบบทดสอบการสูบบุหรี่แบบทดสอบฟาเกอร์สตรอมเพื่อวัดระดับการติดสารนิโคตินประชาชนในพื้นที่ พบว่ามีการติดสารนิโคติน จำนวน1,174 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.88 ของประชากรอายุ15ปีขึ้นไป (ข้อมูลจาก รพสต.ปริก ณ เดือน กรกฎาคม 2560) สถานที่สาธารณะ เช่น สถานที่หน่วยราชการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศาสนสถาน ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน และอื่นๆ จำนวน 55 แห่งซึ่งไม่มีป้ายบอกเขตปลอดควันบุหรี่มีการสูบบุหรี่ในครัวเรือน ปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังในชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปริกมีแนวโน้มสูงขึ้นมีกิจกรรมเชิงรุกช่วยเลิกบุหรี่ในชุมชนยังไม่ครอบคลุม กลุ่มเยาวชนบางคนยังขาดความรู้และเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ เทศบาลตำบลปริกเห็นความสำคัญการการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลบุหรี่และสารเสพติดต่างๆและมีคุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยจากโรคและเพื่อเกิดการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีต่างๆในพื้นที่ให้เกิดการควบคุมยาสูบอย่างจริงจังให้เขตเทศบาลปลอดควันบุหรี่จึงจัดโครงการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกลไกในการพัฒนากำลังคนด้านการควบคุมยาสูบให้เกิดความตระหนักและสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจภาวะเสพติด และพิษร้ายแรงของยาสูบ เฝ้าระวังธุรกิจยาสูบ และบังคับใช้กฎหมาย

ร้อยละ 80 คณะกรรมการควบคุมยาสูบมีความรู้หลังอบรม

2 เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงในเยาวชนมีความรู้หลังอบรมเพื่อลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่

3 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมการ ลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด

การมีส่วนร่วมคณะกรรมการ/ภาคีต่างๆมีบทบาทในการควบคุม ติดตามประเมินผล การควบคุมยาสูบในพื้นที่

4 เพื่อให้ครัวเรือนและสถานที่สาธารณะเขตเทศบาล ปลอดควันบุหรี่

ร้อยละ 100 พื้นที่สาธารณะมีป้ายบอกและปลอดควันบุหรี่

ครัวเรือนต้นแบบ 70 ครัวเรือนปลอดควันบุหรี่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การพัฒนาคน

1.ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ และประกาศสถานที่สาธารณะ ปลอดควันบุหรี่เขตเทศบาล

2.รวบรวมข้อมูลการสำรวจแบบทดสอบการสูบบุหรี่ฟาเกอร์สตรอม

3.จัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจให้ประชาชนในชุมชนเพื่อรับทราบปัญหาและประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการควบคุมยาสูบ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและสร้าง Empowerment เพื่อให้เกิดศักยภาพในการดำเนินงานการควบคุมยาสูบในชุมชนสร้างข้อตกลงและกติกาชุมชนในการควบคุมควันบุหรี่

5.คณะกรรมการบริหารฯติดตามความก้าวหน้า 2 ครั้ง (เดือนที่ 1,3) และคณะกรรมการติดตามประเมินผล 1 ครั้ง (เดือนที่ 6) กลุ่มเป้าหมาย และสถานที่สาธารณะ พร้อมทั้งสำรวจและประเมินผลความสำเร็จโครงการ

ควบคุมควันบุหรี่

1.รับสมัครครัวเรือนต้นแบบปลอดควันบุหรี่ จำนวน 70 ครัวเรือนทั้ง 7 ชุมชนและรับสมัครเยาวชนแต่ละโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ

2.จัดเวทีเสวนาวิถีสุขภาพมุสลิมกับการปลอดควันบุหรี่

3.จัดอบรมแบบ DAY CAMP 2 วัน เยาวชนวัยใสห่างไกลบุหรี่และมอบเกียรติบัตรผู้เข้าร่วมกิจกรรม

4.นำใช้ข้อตกลงและกติกาชุมชนในการควบคุมควันบุหรี่ และการประชาสัมพันธ์พื้นที่ปลอดควันบุหรี่ผ่านสื่อต่างๆ

5.ลงพื้นที่รณรงค์และติดป้ายเขตปลอดควันบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น สถานที่หน่วยราชการสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน และอื่นๆ จำนวน 55 แห่งครัวเรือนต้นแบบปลอดควันบุหรี่ จำนวน 70 ครัวเรือน

6.สรุปกิจกรรมการถอดบทเรียนมอบเกียรติบัตร แก่สถานที่สาธารณะต่างๆ ครัวเรือน ที่ควบคุมได้

7.สรุป-รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารควบคุมยาสูบเทศบาลตำบลปริก คณะกรรมการบริหารกองทุนฯและมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลไกการพัฒนากำลังคนและควบคุมยาสูบในพื้นที่

  2. เกิดความตระหนักและความรู้ ภาวะเสพติด และพิษร้ายแรงของยาสูบ

  3. เกิดการป้องกันกลุ่มเสี่ยงเป็นนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีในระดับบุคคลครอบครัว และชุมชน

  4. เกิดการมีส่วนร่วมป้องกันควบคุมยาสูบในระดับครัวเรือน และชุมชนเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบ และบังคับใช้กฎหมาย

  5. ประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมการ ลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด

  6. พื้นที่เขตเทศบาลมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดควันบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2560 16:40 น.