กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ตำบลเมาะมาวี
รหัสโครงการ 64-L3031-09-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีลา แจกอม๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ มูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (13,700.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส หรือ (COVID-๑๙) ทั่วโลก ณ ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยในขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกแตะ ๒๐๐ ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวน ๔.๗๒ ล้านคน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ประเทศไทยระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนมีผู้ติดเชื้อรายใหม่รวมในประเทศไทยวันละเกินกว่า 14,666 รายต่อวัน มีผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศจำนวน 1,175,866 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 11,495 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564) ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการรุนแรงจะต้องอยู่ในห้อง ICU จำนวนสูงถึง ๕,๐๐๐ คน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด ๑๙ ในจังหวัดปัตตานี ก็ความรุนแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) ประกาศให้เป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดหรือพื้นที่สีแดงเข้ม โดยมียอดผู้ป่วยสะสม ณ ปัจจุบัน ยอดรวม ๑5,000 คน มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 222 ราย ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงมาก ประกอบกับอัตราผู้ติดเชื้อรายวันเป็นหลักร้อยทุกวัน ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยสะสมจำนวน ๑,630 คน มีผู้เสียชีวิต ๒๕ รายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆถ้าหากไม่สามารถบริหารจัดการแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อออกจากกันได้อย่างชัดเจนก็จะทำให้สถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศมาตรการพิเศษเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่เริ่มขยับทำโครงการจัดหาวัคซีนเอง เพื่อนำมาฉีดคนในพื้นที่ มาตรการสำคัญ คือ การเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่ ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการมุ่งฉีดวัคซีนให้แก่ชุมชนพื้นที่ที่มีการระบาด COVID-19 รวมถึงกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ป่วย ผู้พิการในชุมชน ทั้งนี้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยหยุดยั้งการระบาดได้เร็วขึ้น และสอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐที่ต้องการเร่งการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนครอบคลุมทุกภาคส่วนในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้โดยเร็วที่สุด
กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ตำบลเมาะมาวี เพื่อสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุข และเพื่อสนับสนุนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในตำบลเมาะมาวี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในตำบลเมาะมาวี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

 

0.00
2 2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในตำบลเมาะมาวี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 450 13,700.00 0 0.00
27 ก.ย. 64 กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโควิค19 450 13,700.00 -
  1. สำรวจรายชื่อประชาชนในพื้นที่ตำบลเมาะมาวี ให้ขึ้นทะเบียนประสงค์ฉีดวัคซีนโควิค-19
  2. ประสานการจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.เมาะมาวี แบบเคลื่อนที่
  3. จัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก
  4. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานให้ผู้บริหารทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ร้อยละ 70
  2. ประชาชนได้รับบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 11:04 น.