กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส
รหัสโครงการ 60-L5171-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 30 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยา เรืองหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ในพื้นที่หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (8,300.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รพ.สต.บางเหรียง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการอบรมเครือข่ายสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช การให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มปลูกพืช ผัก ผลไม้ เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การจัดนิทรรศการรณรงค์ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ การจัดบริการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส เพื่อให้เกษตรกรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองเกษตรกรโดยการเจาะหาน้ำตาลในเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จะเห็นได้ว่าในพื้นที่ รพ.สต.บางเหรียง ยังพบว่ามีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จากผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปี ของ รพ.สต.บางเหรียง ปีงบประมาณ 2557-2559 กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 100 คน 174 คนและ 102 คน ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 31 คน 105 คนและ 79 คน คิดเป็นร้อยละ 31.00, 60.34 และ 77.45 ตามลำดับ และในปี 2559 ได้เจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 หลังจากให้ความรู้และแนะนำการใช้สมุนไพรล้างพิษ ผลปรากฎว่าผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยลดจาก 79 คน เหลือเพียง 22 คน คิดเป็นร้อยละ 36.07 ซึ่งได้ผลที่ดีขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 72.15 จึงควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินงานให้เกษตรกรได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธาณสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ จำนวน 100 คน

2 2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องสมุนไพรล้างพิษและการใช้สารกำจัดศัตรูอย่างปลอดภัย

เกษตรกรมีความรู้เรื่องสมุนไพรล้างพิษและการใช้สารกำจัดศัตรูอย่างปลอดภัย จำนวน 100 คน

3 3. เพื่อให้เครือข่าย อสม.มีความรู้ด้านอาชีวอนามัยและสามารถแนะนำเกษตรกรได้

เครือข่าย อสม.มีความรู้ด้านอาชีวอนามัย จำนวน 70 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การให้ความรู้เครือข่าย อสม. ด้านอาชีวอนามัยและเกษตรกรในการประเมินความเสี่ยงทางกาย และอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและความรู้เรื่องพืชสมุนไพรรางจืด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพ.สต.บางเหรียง
  2. ประเมินความเสี่ยงทางกายของเกษตรกร โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 เมื่อพบว่ามีความเสี่ยงก็จะได้รับการนัดเพื่อทำการตรวจซ้ำ
  3. ให้บริการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส เมื่อให้บริการตรวจเรียบร้อย มีการแจ้งผลและติดตามตรวจซ้ำในกลุ่มเสี่ยง
  4. ประชาสัมพันธ์ทางสื่อท้องถิ่นช่องทางต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วิธีการล้างผักให้ปลอดภัย การใช้สมุนไพรล้างพิษ ทางเลือกอื่นในการทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยการจัดนิทรรศการ แผ่นพับ และการใช้บทความสำหรับวิทยุชุมชน
  5. จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเครื่อข่ายที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจค้ดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เกษตรกรมีความรู้เรื่องสมุนไพรล้างพิษและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
  3. เครือข่าย อสม. สามารถดูแลสุขภาพเกษตรกรได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2560 11:03 น.