กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ
วันที่อนุมัติ 6 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กันยายน 2564 - 29 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,705.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซูรา สุตี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ ๑-๕ ตำบลท่าน้ำ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถาการณ์การระบาดของไวรัสโควิด ๒๐๑๙ ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารสุขให้โรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-๑๙ เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนักของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ยังคงทวีความรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ทได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น บุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง ใน ๗ กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองและโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโคโรนา ๒๐๑๙ ของตำบลท่าน้ำ มีผู้ติดเชื้อจำนวน ๑๒๔ คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน ๒๒ คนและหายดีกลับบ้านแล้ว จำนวน ๑๐๑ คน ซึ่งขณะผู้มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อยังมีแนวโน้มสูงขึ่นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ ได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community lsoltion จำนวน ๕๐ เตียง และ Home lsoltion เพื่อรองรับการผู้ป่วยการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุด Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวกซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ให้ทันสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแน วทางการดำเนินการและใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ มท.๐๘๐๘.๒ / ว๔๑๑๖ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในตำบลท่าน้ำ

 

0.00
2 ๒.เพื่อเพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,705.00 0 0.00
15 ก.ย. 64 - 29 ธ.ค. 64 กิจกรรมที่๑ ประชุมทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน 0 4,640.00 -
15 ก.ย. 64 - 29 ธ.ค. 64 กิจกรรมที่ ๒ คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ 0 95,065.00 -

๑.ขั้นตอนการวางแผน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินการโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน / ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ ๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่๑ ประชุมทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชนเพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ นำไปดำเนินการตามโครงการ
ผลผลิต / ผลลัพธ์ ๑.เกิดแผนการคัดกรอง ATK ในชุมชน ๒.อสม. / แกนนำมีความรู้เรื่องการใช้ชุดทดสอบ ATK กิจกรรมที่๒ คัดกรอง ATK ให้กับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ผลผลิต / ผลลัพธ์ ๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน ๒.ชุมชนปลอดโรค ไม่มีระบาดเพิ่มในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 00:00 น.