กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ศพด.บ้านเปียน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียน
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 28,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาริเด๊าะ ยุโสะสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ก.ย. 2564 23 ก.ย. 2564 28,600.00
รวมงบประมาณ 28,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 161 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก "Coronavirus Disease 2019" เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อนจากสถานการณ์การระบาดในระลอกใหม่ พบว่า รูปแบบการระบาดของโรคมีการแพร่ระบาดในกลุ่มคนไทยในลักษณะของการพบปะสังสรรค์ ซึ่งทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มคนเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจากการระบาดครั้งนี้จะเป็นบุคคลในกลุ่มวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 25 - 60 เป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนย้ายสูง และมีการติดต่อสัมผัสผู้คนเป็นจำนวนมาก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ติดเชื้อโควิคในระลอกใหม่และสะสม ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 - 10 กรกฎาคม 2564 จำนวน 296,164 ราย (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564)จังหวัดสงขลาจัดอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดมีจำนวน 6,510 ราย ข้อมูลตั้งแต่ 11 - 14 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 8,315 ราย เมื่อจำแนกเป็นรายอำเภอของจังหวัดสงขลา พบว่าอำเภอสะบ้าย้อยมีผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้จำนวน 48 ราย มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อในโรงเรียนสอนศาสนา จังหวัดยะลา จำนวน 7 ราย ตรวจหาเชื้อจำนวน 2,881 ราย(ศูนย์ปฏิบัตการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สืบค้นเมือ 14 กรกฎาคม 2564 ) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการแพร่ระบาดได้ขยายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตด้วยโรคโควิค 19 ควรประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ที่คุ้นเคย เช่น ที่บ้าน เมื่อมีผู้เข้ามาเยี่ยมเยียน และสถานที่ทำงาน รวมถึงหมั่นสังเกตอาการของผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคเรื้อรังภายในครอบครัว หากมีอาการไข้ ไอ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบพบแพทย์เพื่อรีบการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันชัดเจน (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2564 )ตามหนังสือ อำเภอสะบ้าย้อย ที่ สข 0918/ว 322 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 เรื่องข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 22)ให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดและประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ให้บริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 22) กำหนด ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางศุนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียน ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนและมีการจัดการเรียนการสอนแบบ On-hand (มารับใบงานกลับไปทำบ้าน) เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับครูและผู้ปกครองของนักเรียน จึงต้องมีการจัดโครงการสนับสนุนการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของครูและผู้ปกครอง ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและ ควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

10.00
2 เพื่อให้ครูและผู้ปกครองของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียนได้รับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

10.00
3 เพื่อให้ครูและผู้ปกครองของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนและมีความปลอดภัยในตลอดระยะเวลาการมารับใบงาน

 

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,600.00 0 0.00
14 - 25 มิ.ย. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำโครงการและแผนดำเนินงาน 0 0.00 -
28 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 0 28,600.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน 1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 การติดต่อประสานงานกับบริษัทหรือห้างร้านที่มีการจัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์และสารเคมีเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 3.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสารเคมีในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.3 ติดตั้งชุดอุปกรณ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.4 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการตรวจคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทุกคน
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด 19
  3. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นให้ห่างไกลจากโควิด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 20:45 น.