กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อชีวิตสดใสในวัยผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 04022560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมัจฉา หมานสัน
พี่เลี้ยงโครงการ นางนัยนาอโศกสกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.517,100.124place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมดถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง ได้แก่รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาลและการคลัง แรงงานและการจ้างงาน และการบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งอัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิตเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการพัฒนาการ ซึ่งมีภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยลง เจ็บป่วยได้ง่ายรวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาด้านสุขภาพน้อยลง เช่นอาหาร การออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต ชุมชนบ้านเกาะยาวได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้านดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการโครงการเพื่อชีวิตสดใสในวัยสูงอายุหมู่ 1 บ้านเกาะยาว ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้บุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และครอบครัวและเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญหา เศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ

 

2 2.เพื่อเสริมสร้างทักษะให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

 

3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

4 4.เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

5 5.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจิตใจ ในด้านสุขภาพ สังคม ภูมิปัญญาและเศรษฐกิจ

 

6 6.เพื่อให้ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.,ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่ม ชมรม ผู้สูงอายุ
    1. จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ
    2. คัดกรองโรคที่เป็นปัญหาสำคัญและที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
  2. คัดกรองจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มที่ช่วยตนเองได้ดีหรือกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง
    5.ประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุเพื่อการดูแลตามกลุ่ม
  3. คัดกรองกลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุ ได้แก่
    • ภาวะหกล้ม
    • สมรรถภาพสมอง
    • การกลั้นปัสสาวะ
    • การนอนไม่หลับ
    • ภาวะซึมเศร้า
    • ข้อเข่าเสื่อม
  4. ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าอบรมทุกคน
  5. ชี้แจงแนวทางการดำเนินการชมรมผู้สูงอายุหมู่ 1 บ้านเกาะยาว
  6. สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนเช่น ออกกำลังกายการให้ความรู้
    การสันทนาการต่างๆการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
  7. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุมีการปรับตัวได้ดีขึ้น สนใจเข้ากลุ่มร่วมกิจกรรมในชมรมอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลตนเองทั้งทางกาย ใจ สามารถจัดการสุขภาวะตนเองได้และมีส่วนร่วมใน กิจกรรมของชุมชน
  4. เกิดความเข้าใจและสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน
  5. ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2560 11:02 น.