กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคโควิด 19 ในโรงเรียน (อสม.จิ๋ว)
รหัสโครงการ 64L4158204
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กันยายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 66,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสามสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ โดย นายอภินันท์ ซา ตำแหน่งประธานอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโต๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 66,940.00
รวมงบประมาณ 66,940.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมและป้องกันโรค สามารถดำเนินการทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมขน โดยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของโรคและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุมชนต่างๆของตำบลตะโละหะลอ ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้น(ข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกของตำบลตะโละหะลอมีผู้ป่วย11ราย)ถึงแม้จะใช้การใส่ทรายอะเบท และการพ่นกำจัดยุงลาย ก็ยังไม่สามารถลดอัตราการป่วยของโรคดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญของการเกิดโรคคือยุงลาย และลูกน้ำที่จะต้องเจริญเติบโตเป็นยุงในบางระยะไม่สามารถกำจัดได้ด้วยทรายอะเบท จึงจำเป็นต้องใช้การกำจัดโดยการลดแหล่งน้ำเพาะพันธุ์ ภายในบ้านและในชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียน จะสามารถลดจำนวนลูกน้ำที่จะเป็นยุงในอนาคตได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แกนน้ำสามารถสำรวจลูกน้ำยุงลายร่วมกับ อสม.ที่ได้รับผิดชอบการสร้างเสริมและป้องกันโรคในพื้นที่ หากกิจกรรมดังกล่าวดำเนินได้เป็นอย่างดีจะพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อในอนาคต จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค(อสม.จิ๋ว)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูล วางแผน ประสานคณะกรรมการพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) แกนนำชุมชน โรงเรียน เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและจำนวนที่ต้องการ
  2. ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ เพื่อดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชน
  3. สนับสนุนกลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนประชุมประชาคมร่วมกับ อสม. กลุ่มจิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ เพื่อร่วมมือกันวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก วยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และสรุปผลการรณรงค์ทุกเดือน
  4. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยรถกระจายเสียงของ อปท ทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม- ตุลาคม
  5. สนับสนุนกลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนชักชวนนักเรียน อสม. กลุ่มจิตอาสา ออกพื้นที่ชุมชนชักชวนพี่น้อง ประชาชนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบที่อยู่อาศัย โรงเรียน และบริเวณใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งพันธุ์ยุงลาย พร้อมกับสำรวจความชุกของลูกน้ำ (HI/CI) ทุกวันศุกร์ และสรุปผลงาน
  6. กลไกการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในโรงเรียนและตาดีกา
  7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลตะโละหะลอ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนมีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
  2. เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ในการดูแลสุขภาพของคนภายในหมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564 12:35 น.