กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านน้ำดำ
รหัสโครงการ 65-L3069-10(2)-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านน้ำดำ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจรีย์ วงษ์สวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
95.00
2 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6รู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ เกิดทักษะชีวิต
90.00
3 ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีผลผลิตจากโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน จากสถานการณ์ด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนบ้านน้ำดำภาพรวมส่วนใหญ่กว่า 80% น้ำหนักส่วนสูงสมส่วน แต่ก็มีภาวะโภชนาเกิน และทุพโภชนาการ อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งนักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษาบางคนไม่ชอบกินผัก และชอบบริโภคขนมและ น้ำหวาน สิ่งสำคัญที่สุดคือ วัตถุดิบในการประกอบอาหาร อาจจะมาจากแหล่งผลิตและวิธีการผลิตโดยใช้สารเคมีหรือไม่ ทำให้การบริโภคผักไม่ปลอดภัย ด้วยเหตุนี้โรงเรียนพัฒนศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภค อาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภค ผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพในโรงเรียนขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียน รวมถึงการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ นักเรียนได้มีทักษะเพื่อนำไปใช้แนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ผักที่ปลูกทางโรงเรียนเน้นผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง แตงกวา กะเพรา โหระพา พริก มะเขือ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย เป็นต้น ซึ่งนักเรียนแต่ละระดับชั้นจะทำการแบ่งกลุ่มลงแปลงปลูกผัก ดูแลผลผลิต จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตขายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน ซึ่งทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปรับใช้ที่บ้าน จนสามารถมีแปลงปลูกผักและมีพืชผักไว้กินและเหลือจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวต่อไป ร้อยละ 95ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
ร้อยละ 90ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
รู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีผลผลิตจากโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

ร้อยละ 95ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

80.00 95.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและมีทักษะชีวิต

ร้อยละ 95ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

85.00 90.00
3 เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน ลดค่าใช้จ่ายและมีการเจริญเตฺิบโตเหมาะสมตามช่วงวัย

ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีผลผลิตจากโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1. กิจกรรมเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน 0 10,912.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 2. การสาธิตการปลูกผัก 0 3,350.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 3. กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ 0 540.00 -
30 ส.ค. 65 - 31 ต.ค. 65 4. กิจกรรมอาหารกลางวันผักปลอดสารพิษ 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 2 พ.ย. 64 5. กิจกรรมจัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงาน 0 198.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
  2. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและมีทักษะชีวิต
  3. โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน ลดค่าใช้จ่ายและนักเรียนมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 10:45 น.