กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) ตำบลตาเนาะแมเราะ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65 - L4128 - 5 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมา สวนจันทร์ รองปลัดอบต.ตาเนาะแมเราะ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ภายในประเทศ : การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศไทยพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 11,754 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวนรวม 1,615,229 ราย หายป่วยสะสม 1,483,143 ราย และเสียชีวิตสะสม 16,850 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 การระบาดระลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื้อง และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก จากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศยกระดับตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้นโดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธู์ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ เมื่อได้มีการประเมินสถานการณ์ภายหลังการมีผลใช้บังคับของข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ปรากฎว่ายังไม่อาจชะลออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว ไม่ให้ขยายวงระบาดสู่ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ดำเนินการ จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะได้มีที่พักอาศัยระหว่างรอเตียงว่าง เพื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนได้อย่างเป็นระบบ

ลดจำนวนการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบ

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขได้ถูกต้อง

คณะผู้บริหาร สมาชิกอบต. พนักงาน ลูกจ้างประจำ และลุกจ้างทั่วไปในองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ หน่วยงานในเขตตำบลตาเนาะแมเราะ และประชาชนในเขตตำบลตาเนาะแมเราะมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติด้านสาธารณสุขได้ถูกต้อง

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการและรักษาดูแลตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19

 

0.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะได้มีที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

ประชาชนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะมีที่พักอาศัยระหว่างรอเตียงว่าง เพื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

0.00
5 5. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารสถานที่ 0 1,000.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (มื้อละ 50 บาท) 0 36,000.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าน้ำดื่ม 0 3,450.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าป้ายไวนิล (4ป้าย) 0 3,160.00 -
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ในศูนย์ CI 0 56,390.00 -
  1. เสนอขออนุมัติจัดทำโครงการ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  3. ประชุมคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ
  4. ดำเนินการตามโครงการ 4.1 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาหาร น้ำดื่ม เพื่อใช้ในการดำเนินการในศูนย์ CI 4.2 ดำเนินการเปิดศูนย์ CI และให้ความรู้เบื้องต้นกับประชาชนในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 4.3 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถารการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 4.4 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้มีการระบาดในพื้นที่ลดลง 2.ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ 3.ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาและคัดแยกอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 4.ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 5.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2564 09:29 น.