กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน "ขยะอิ่มบุญ"
รหัสโครงการ 60-L4137-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.ตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรสมี เจะมูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 14,000.00
รวมงบประมาณ 14,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านท่าวัง ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ถือเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ตำบลพร่อน มีจำนวนประชากร ชาย 257 คน หญิง273 คน รวมประชากร 530 คน มีจำนวนครัวเรือน 120 ครัวเรือน(ข้อมูล ณ 3 ตุลาคม 2559 : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา) มีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลกรัมต่อคนต่อเดือน (ข้อมูลจากฐานข้อมูลการจัดการขยะ อบต.พร่อน ณ เดือน เมษายน 2560)เพื่อสนับสนุนกิจกรรมคัดแยกขยะจากต้นทางเพื่อลดปริมาณขยะ และดำเนินงานตามนโยบายการบริหารจัดการขยะ ที่ต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วม ในการนี้กลุ่ม อสม.ตำบลพร่อน จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมด้านการบริหารจัดการขยะ ทั้งการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับคนในชุมชนในการคัดแยกขยะและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี และกิจกรรมขยะอิ่มบุญ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นความร่วมมือระหว่างชุมชน ประชาชน สถาบันศาสนาในชุมชน เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในชุมชนผูกพันกับพิธีกรรมทางศาสนาและให้ความสำคัญกับสถาบันทางศาสนา ในแง่ของการเป็นศูนย์กลางของการพบปะ และเปลี่ยนความคิดการเรียนรู้ต่างๆ การจัดกิจกรรมโดยนำขยะรีไซเคิลมาบริจาคแทนการใช้เงินจะเป็นการชักชวนให้ชุมชนหันมาคัดแยกขยะและรวบรวบวัสดุรีไซเคิล มาทำบุญแทนการใช้เงินเพื่อมอบให้มัสยิด ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้สามารถจัดกิจกรรมได้ตลอดทั้งปี และสามารถหมุนเวียนกิจกรรมในมัสยิดที่อยู่ใกล้เคียงชุมชนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทุกวัยสามารถร่วมกันดำเนินกิจกรรมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรมให้ความรู้ประชาชนในจัดการขยะ การคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

2 2.เพื่อช่วยลดปริมาณขยะในชุมชน

 

3 3. เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

4 4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการฯ
  4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ
  5. จัดตั้งธนาคารขยะรับสมัครสมาชิก
  6. ดำเนินงานตามโครงการ
  7. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในจัดการขยะ การคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม 2.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
3. มีรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4. เกิดมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2560 15:15 น.