กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลตะลุโบะ
รหัสโครงการ 60-L3011-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,935.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 97 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิด-5ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิตมนุษย์เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม จะช่วยสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดี และสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์อันจะเป็นรากฐานของบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า และพบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีนน้อย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ฟันผุทำให้เด็กมีการบดเคี้ยวที่แย่ลง ทำให้เกิดการขาดสารอาหารเรื้อรัง แคระแกร็น สมองพัฒนาน้อย ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการช้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา ได้กำหนดวาระสำคัญที่จะพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ Pattani Smart kidsเพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันดี
จากข้อมูลการปฎิบัติงาน4 กิจกรรมในเด็กอายุ 0-5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ปีงบประมาณ 2559พบว่า เด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70, มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 83.20, มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 83.0 และเด็กอายุ 3-5 ปี มีฟันผุ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 กิจกรรมในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะลุโบะ ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำโครงการ หนูน้อย SMART KIDS เพื่อแก้ปัญหาตามนโยบาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้และเกิดความตระหนักในการนำเด็กอายุ0-๕ ปีมารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์

1.ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเกิดความตระหนักในการนำเด็กอายุ0-๕ ปีมารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์

2 2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการรับวัคซีนเด็กอายุ ๐-๕ ปี
  1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนฺ BCG ตามวัย
  2. ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนฺ MMR ตามวัย
  3. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนฺ DHB,DTP และ JE ตามวัย
3 3 เพื่อส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย ในเด็กอายุ 0-๕ ปี

1.ร้อยละ 95ของกลุ่มเป้าหมายพัฒนาการสมวัย

4 4 เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5 ปีได้

1.ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5 ปีได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 พ.ย. 60 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน/โภชนาการ/พัฒนาการ/ฟัน(smart kids) 177 32,340.00 21,240.00
9 พ.ย. 60 จัดประชุมคณะทีมงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและชี้แจงโคงการ 17 595.00 595.00
รวม 194 32,935.00 2 21,835.00

ขั้นเตรียมการ ๑.สำรวจข้อมูล
๒.รู้กลุ่มเป้าหมาย โดยการค้นหากลุ่มเป้าหมายร่วมกับ อสม. ซึ่งได้จากการสำรวจในพื้นที่จริง ๓.จัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายเด็กที่เกิดเดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2560 ตำบล ตะลุโบะ ๕.ประชุมทีม อสม.ชี้แจงการสำรวจรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย โดยแจกรายชื่อดังกล่าว ตามหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ และได้ทราบถึงรายชื่อเด็กที่ อสม.แต่ละคนรับผิดชอบเพื่อง่ายในการติดตามเด็ก ขั้นดำเนินงาน 1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน/โภชนาการ/พัฒนาการ/ฟัน(Smart kids) 2.ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ขาดนัดวัคซีน โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่าย อสม.ในการติดตามและแจกรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ขาดนัดเพื่อการติดตาม 3.ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการเคลือบฟลูออไรด์วานิชทุกๆ 3 เดือน ๔.ประกวดหนูน้อย Smart kidsพร้อมมอบของรางวัล ๕.ประสานงานและติดตามการดำเนินงาน ๖.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก0-5 ปี มีสุขภาพดีรูปร่างดีสมส่วน พัฒนาการสมวัยวัคซีนครบ ฟันดี เป็นหนูน้อยSMART KIDS 2.ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีน และ การดูแลสุขภาพฟัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2560 10:01 น.