กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด -19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
รหัสโครงการ 65-L5278-01-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านพรุ
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 เมษายน 2565
งบประมาณ 282,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2564 31 มี.ค. 2565 282,000.00
รวมงบประมาณ 282,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
68.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
75.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19
28.00
4 จำนวนของมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติดในช่วงโควิด-19
8.00
5 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)
25.00
6 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่ สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออก ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 23 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษา เข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษา มีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกัน ไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะ โรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้ สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวด เพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ท ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2564 ผู้ติดเชื้อโควิด19 ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุมีผู้ติดเชื้อจำนวน 518 คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน 81 คน และหายดีกลับบ้านได้แล้ว จำนวน 433 คน และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง กักตัวที่พักอาศัย ของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความ เสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรค Home Quarantine จำนวน 112 คน ซึ่งขณะนี้มี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทศบาลเมืองบ้านพรุได้มีความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ จัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation และ Home Isolation เพื่อรองรับกับ ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วย ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก  ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตาม มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักใน การกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการ กระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทัน ต่อสถานการณ์ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับ โรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท.0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เทศบาลเมืองบ้านพรุจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

68.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

75.00 95.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

28.00 40.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโควิด-19

จำนวนของมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโควิด-19

8.00 20.00
5 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

25.00 50.00
6 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

15.00 35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 282,000.00 1 224,465.00
1 - 15 พ.ย. 64 จัดประชุมทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 พ.ย. 64 - 31 มี.ค. 65 คัดกรองเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 0 282,000.00 224,465.00
  1. จัดประชุม ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองบ้านพรุ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด 19
  2. ออกคำสั่งแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม/แกนชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่ ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
  3. กำหนดพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก
  4. ดำเนินการตรวจคัดกรองประชาชนและกลุ่มเสี่ยงสูงเชิกรุงด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) หากพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก ประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation หรือ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป
  5. มอบ อสม.ติดตาม/ให้คำแนะนำกลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอการตนเองหลังการตรวจอีก 3 - 5 วัน หากมี อาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้แจ้ง อสม./ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ เพื่อประเมินและตรวจ ATK ซ้ำ
  6. ใช้มาตรการทางสังคม ให้ประชาชนร่วมกันสังเกตผู้มาจากพื้นที่เสี่ยงสูง รายงานผู้รับผิดชอบ เพื่อรับการคัดกรองด้วย ATK ประสานเข้าระบบกักกัน กรณีผลเป็นลง และสร้างความเข้าใจในการกักกันตัวเพื่อลดความกังวลจากประชาชนในชุมชน
  7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นพาหะนำโรคติดเชื้อโควิด -19 ในชุมชน
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถุงบุคคลในเขตเทศบาล สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด -19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 09:34 น.