กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
รหัสโครงการ 65-50117-05-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ (สำนักปลัด)
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2565
งบประมาณ 94,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมัยตรีจิตร คงมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 พ.ย. 2564 31 มี.ค. 2565 94,025.00
รวมงบประมาณ 94,025.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
90.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
80.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19
50.00
4 จำนวนของมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติดในช่วงโควิด-19
90.00
5 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19
1.00
6 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้
100.00
7 ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19
30.00
8 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี256๔ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น บุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดตรังอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของ จังหวัดตรัง จำนวน ๑๑,๕๙๑ คน ยังรักษาอยู่ จำนวน ๒,๖๔๓ คน เสียชีวิต จำนวน ๕๖ คน และอำเภอนาโยง ผู้ติดเชื้อโควิด ๑๙ จำนวน ๔๔๐ คน เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย และ ในตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง มีผู้ติดเชื้อ จำนวน ๖๙ คน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ มีผู้ติดเชื้อ จำนวน ๕๑ คน นอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ จำนวน ๑๘ คน และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่กลางที่จัดตั้งขึ้น (Local Quarantine)  กักตัวที่พักอาศัยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรค Home Quarantine ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ ได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation และ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ อาศัยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ทันต่อเหตการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

90.00 1.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

80.00 1.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

50.00 1.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโควิด-19

จำนวนของมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโควิด-19

90.00 1.00
5 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

1.00 1.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

100.00 1.00
7 เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น

ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่เข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น

30.00 1.00
8 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

10.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมสมาชิก จนท.หน่วยบริการสาธารณสุข อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 นำไปดำเนินการตามโครงการ ๒ อปท. ออกคำสั่งแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนนำชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่  โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลแม่ค้า พ่อค้า จำนวน  ๖  ครั้ง  โดยมีระยะห่างอย่างน้อย  ๑ สัปดาห์
  2. อปท.กำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานสำรวจรายชื่อกลุ่มแม่ค้าเข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก  จากหน่วยบริการสาธารณสุข  จัดทำทะเบียนผู้รับการคัดกรองประกอบด้วยข้อมูล  ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน  วันที่ตรวจ
  3. อปท.ประสานทีมเพื่อฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสูง
  4. จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยในหนึ่งทีมประกอบด้วย  อสม. จำนวน 2–3 คน  และผู้เกี่ยวข้อง ในการรับผิดชอบให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ  ที่พักอาศัย
  5. แกนนำชุมชน อสม.  หรือผู้เกี่ยวข้องออกกำกับติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค  และมอบวัสดุป้องกันโรค หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เป็นครัวเรือน 7.  มีการตรวจ ATK  ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเสี่ยงสูง)  มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน  หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต./รพ. เพื่อประเมินอาการ  โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ
  6. หากมีพบผลการตรวจ ATK  เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation หรือ Home Isolation  เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป
  7. สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
  3. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 08:51 น.