กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตรายและโรคอุบัติการณ์ใหม่ ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5209-10.4-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 524,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้น ๆ ขึ้น สำหรับในประเทศไทยเป็นบริเวณร้อนชื้น จึงทำให้เชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ง่าย ประเทศเขตร้อนจึงพบโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ มากกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โดยโรคที่พบบ่อยในแถบเขตร้อน จะเรียกรวมว่า "โรคเขตร้อน" (Tropical Diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่าง ๆ  ในปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 ระบุว่า โรคติดต่อมีทั้งหมด 12 โรค (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาด ของเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องอาทิเช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์โรคอีโบลา เป็นต้น โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆด้าน ทั้งที่เกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติ และที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งยังอาจเกิดจากการจงใจกระทำให้เกิดขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดข้ามประเทศข้ามทวีปเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระแสการตื่นตัวของทุกภาคส่วนทุกระดับ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติและนานาชาติ ในการเตรียมความพร้อมที่จะป้องกันและควบคุมมิให้โรคที่เกิดขึ้นใหม่แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง สำหรับโรคไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.252 ตำบลท่าช้างได้มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าคนแรกของจังหวัดสงขลา ในพื้นที่ ม. 7 ตำบลโคกเมา หลังจากนั้นก็พบการระบาดระลอกที่ 1,2 และ 3 ซึ่งปัจจุบัน ตำบลท่าช้าง พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า – 19 มากถึง 774 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2564) ซึ่งคิดอัตราป่วยเท่ากับ 3518 ต่อประชากรแสนคน จึงจัดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของโรคนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวขึ้นตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการป้องกันโรค การดำเนินงานเกี่ยวกับการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันกาติดเชื้อในครอบครัวและแพร่ระบาดในชุมชน (Local communication)ซึ่งพบว่าแนวทางดังกล่าวไม่สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ การดำเนินงานจึงเพิ่มความเข้มข้นขึ้น โดยการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในโรงพยาบาลบางกล่ำ พบว่าแพร่ระบาดของโรคยังสูงขึ้นต่อเนื่องทำให้สถานบริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งขึ้นไม่เพียงพอกับการรองรับผู้ติดเชื้อ จำเป็นต้องร่วมมือกับกรมารปกครองและสาธารณสุขในการจัดตั้งศูนย์พักคอย (Community Isolation) หมายถึง สถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดระดับสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลัก ใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแลรักษาเบื้องต้นระหว่างรอเตียงและรับการรักษา โดยอำเภอบางกล่ำ โดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคอำเภอบางกล่ำ ได้ดำเนินการจัดตั้ง“ศูนย์พักคอยหมายถึง สถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดระดับสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลักใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแลรักษาเบื้องต้นระหว่างรอเตียงและรับการรักษาในกรณีที่ประชาชนตรวจพบเชื้อ ลดภาวะการแพร่ระบาดสู่ครอบครัวและชุมชนต่อไป รวมทั้งดำเนินการตรวจคัดกรอง ATK ( Antigen test kit )หรือคือชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ที่สามารถทดสอบได้ในเบื้องต้น เหมาะกับผู้ที่สงสัยหรือไม่แสดงอาการติดเชื้อ การทดสอบใช้เวลาไม่นานรอผลเพียง 15-30 นาที ในกลุ่มประชาชน เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อให้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบการรักษาของโรงพยาบาลบางกล่ำและใช้ การจัดตั้งศูนย์พักคอย(Community Isolation) เป็นสถานที่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยหากโรงพยาบาลสนามไม่มีเตียงรองรับเพียงพอ เพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้าง

สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย  โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้าง

0.00
2 ข้อที่ 2. ลดอัตราการป่วยและตายด้วยโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้าง

อัตราป่วยป่วยและตายด้วยโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย
โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้างลดลง

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้การแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
  1. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงที
  2. ไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก โรคตามฤดูกาลและ โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2100 524,000.00 0 0.00
11 ม.ค. 65 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้างทุกครัวเรือนในพื้นที่ตำบลท่าช้าง ผ่านสื่อแผ่นพับ เสียงตามสาย และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 0 10,000.00 -
11 ม.ค. 65 2. ดำเนินการการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันกาติดเชื้อในครอบครัวและแพร่ระบาดในชุมชน (Local communication) 2,100 373,200.00 -
11 ม.ค. 65 3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของผู้ปฏิบัติงานตามประกาศเทศบาลตำบลท่าช้าง 0 100,800.00 -
11 ม.ค. 65 4.ค่าเช่าเต้นพร้อมอุปกรณ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยรักษาพยาบาล และผู้ที่พักในศูนย์พักคอย 0 40,000.00 -

1.ขั้นเตรียมการ (Plan) 1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 1.2 ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวให้ประชาชนทราบถึงกิจกรรมของโครงการ 2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.1 กิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) 3.ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล (Check) 3.1 รายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม 4.ขั้นสรุป รายงานผล และปรับปรุง (Act) 4.1 บันทึกสรุปผลจากการปฏิบัติงานและดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาและผู้บริหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้และทักษะปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่   ตำบลท่าช้าง 2. ลดอัตราการป่วยและตายด้วยโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้าง 3. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลท่าช้าง 4. ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ   ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2564 14:08 น.