กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายสุขภาพอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด (COVID-19) หมู่ที่ 3 ตำบลท่าช้าง
รหัสโครงการ 65-L5209-10.4-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุ่งตะวัน แก้วชะโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 19,750.00
รวมงบประมาณ 19,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 898 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อที่ไม่เป็นทางการในช่วงเริ่มต้นของการระบาดของโรคว่า "โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น" หรือ "ไวรัสปอดอักเสบอู่ฮั่น" เป็นไวรัสติดต่อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19)
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๖๔ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้ ๒๔๙ราย รวมยอดสะสม๑๐,๕๔๗ราย เสียชีวิต ๖๔ราย รักษาหายกลับบ้าน ๖,๕๖๖ราย ผู้ป่วยรักษาอยู่ ๓,๙๑๔ ราย เป็นการระบาดรอบ ๒ กระจายไปหลายจังหวัด ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันตอนนี้ในพื้นที่ตำบลท่าช้างของเรา ได้มีผู้ป่วยเฝ้าระวังในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมต้องเฝ้าระวังอยู่จำนวน ๑๐ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑ มกราคม 256๔) ดังนั้น ทางเครือข่ายอสม สุขภาพ ท่าช้างได้เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าช้าง จึงมีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัส COVID -19 โดยให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารข้อมูลในการดูแลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัส COVID -19 และได้รับการคัดกรองดูแลสุขภาพผู้ป่วยเฝ้าระวังในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม อย่างทั่วถึง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการ เครือข่ายสุขภาพอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด (COVID -19)รพ.สต. ตำบลท่าช้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจ มาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิค-๑๙

อาสาสมัครสาธารณสุขทุกคน มีความรู้ความเข้าใจ ป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคโควิด(COVID -19)) ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังคัดกรอง ในชุมชนและงานประเพณีต่างตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิค-๑๙

อาสาสมัครสาธารณสุขทุกคน มีทักษะปฏิบัติงานคัดกรองในการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคโควิด(COVID -19)) ร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ ๓ เพื่อลดการระบาดแพร่เชื้อโรคไวรัสโควิค-๑๙ในหมู่บ้านได้

ชุมชนปลอดผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโควิค-๑๙ ร้อยละ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 898 19,750.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรค (COVID - 19) โดย อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าช้าง หมู่ที่ ๓ เฝ้าระวังคัดกรอง โรคโควิคเชิงรุก และงานประเพณี ในหมู่บ้าน วัด มัสยิด 898 19,750.00 -
  1. จัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันและควบคุมโรค COVID – 19 โรคติดต่อ,โรคติดต่ออันตราย,โรคอุบัติการณ์ใหม่ และกลุ่มภาวะเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรคระบาดโดยการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย 1.1 การรวบรวมติดตามข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์โรคฯ 1.2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ที่ต้องใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคคัดกรอง โรคโควิค -๑๙ 1.3 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง (เด็ก,ประชาชนทั่วไป,ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง/สถานที่สำคัญ เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน ศาสนาสถาน และสถานประกอบการต่างๆในชุมชน) โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันตน
  2. จัดดำเนินการคัดกรอง ผู้มารับบริการหน่วยปฐมภูมิ และงานประเพณีในหมู่บ้าน
  3. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความสามารถคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงและมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการป้องกันและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID -19) และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรคระบาด
  2. ผู้ที่มีภาวะกลุ่มเสี่ยงสามารถปฎิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรค
  3. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID -19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2564 14:14 น.