กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะตามหลัก 3Rs เพื่อบ้านสะอาด ปราศจากโรคภัย หมู่ ๓ บ้านศาลาหลวงด้วง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ธันวาคม 2564 - 30 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,888.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมบูรณ์ น้ำแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ  ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะ  ส่วนมากคนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ  นอกจากนี้ คสช. ได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติเพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลาย ๆ ด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศทำให้เกิดมลพิษทางดินน้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ และพาหนะนำโรคทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่งทั้งเมืองขนาดเล็ก จนถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชน การจัดการขยะมูลฝอยซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ คือการฝังกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (กรมควบคุมมลพิษ, 2563) ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นของประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2563 พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้น ประมาณ 25.37 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณขยะมูลฝอยลดลงกว่าปีที่ผ่านมา  ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั้งราชอาณาจักร (มาตรการล๊อกดาวน์) การจัดการขยะมูลฝอยในปี 2563 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง 9.13 ล้านตัน ขยะมูลฝอยอีกส่วนถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 8.36 ล้านตัน ในส่วนปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง 7.88 ล้านตัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ในปี 2562  จะเห็นได้ว่าในปี 2563  มีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องมากว่า 1.5 ล้านตัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2563) จังหวัดตรัง มีปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น จากสถานการณ์ย้อนหลัง 5 ปี ระหว่างปี 2559-2563 พบว่า ปริมาณขยะในจังหวัดตรัง มีปริมาณขยะ 186,040.5 ตันต่อปีตามลำดับ ในปี พ.ศ 2563  ถึงจะมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ลดลง แต่การกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ประมาณ 117,165 ล้านตัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2563)
จากการลงชุมชน ในหมู่ที่ 3 บ้านศาลาหลวงด้วง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง พบว่า ในหมู่บ้านมีบ้านที่ผ่านแบบประเมินบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ ร้อยละ 46.56 และบ้านที่ไม่ผ่านแบบประเมินบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ ร้อยละ 53.44 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และจากการร่วมกันจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ปัญหาการคัดแยกขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่ชุมชนต้องการแก้ไขมากที่สุด
จากสถานการณ์และความสำคัญดังกล่าว  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจัดทำโครงการ  การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่หมู่ 3 บ้านศาลาหลวงด้วง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง  เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการร่วมมือกันในการจัดการขยะมูลฝอย สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี และลดการเผาขยะที่ไม่จำเป็น เพื่อให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยโดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืนมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย

 

0.00
3 เพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีพฤติกรรมที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย

 

0.00
4 เพื่อให้ครัวเรือนมีปริมาณขยะมูลฝอยลดลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การวางแผนการดำเนินงาน
    • ประชุมวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จงบประมาณ และแนวทางการประเมินผล
    • แต่งตั้งคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ
    • เขียนโครงการฉบับสมบูรณ์และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • มอบหมายหน้าที่ รับผิดชอบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ้าหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 3
      ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เพื่อขอความอนุเคราะห์สถานที่และความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
    • จัดเตรียมสื่อการให้ความรู้ (แผ่นผับการจัดการขยะ)
    • จัดประชุมชี้แจง ผู้เข้าร่วมโครงการประเมิน บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์
    • เตรียมแบบทดสอบความรู้ก่อนหลัง
  2. นำไปปฏิบัติ
    • ดำเนินโครงการโครงการคัดแยกขยะ เพื่อบ้านสะอาด ปราศจากโรคภัย หมู่ที่ ๓      ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
          - ทำเอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมโครงการ
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์ รายละเอียด กับผู้เข้าร่วมโครงการประเมิน บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ และข้อตกลงในการเข้าร่วมโครงการพื้นที่หมู่ 3 ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
    • กิจกรรมที่ 1 “ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs”
    • กิจกรรมที่ 2 “กิจกรรมร่วมใจใช้กระเป๋าผ้า”
    • กิจกรรมที่ 3 “DIY เพิ่มคุณค่าให้กับขยะ”
    • กิจกรรมที่ 4 “ทิ้งถูกที่ ลงถูกถัง”
    • กิจกรรมที่ ๕ “บันทึกปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน”
  3. ประเมินผลการดำเนินงาน
    • ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอย แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย (ก่อนหลัง)
  4. ปรับปรุงหรือการนำการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน
    • สรุปผลการดำเนินงาน และเสนอแนะแนวทางในการนำไปปรับปรุงพัฒนางาน
  5. จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
  2. ตัวแทนครัวเรือนมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย
  3. ตัวแทนครัวเรือนมีพฤติกรรมที่ดีในการจัดการขยะมูลฝอย
  4. ครัวเรือนมีปริมาณขยะมูลฝอยลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 15:41 น.