กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
รหัสโครงการ 2565-L1490-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวนีย์ ยาวงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายคณพศ ศรีประภา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 พ.ย. 2564 30 ก.ย. 2565 70,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ภายในประเทศ : ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศไทยพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 8,165 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวนรวม 1,920,189 ราย และเสียชีวิตสะสม 19,260 ราย การระบาดระลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากและพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข ประกอบกับสถานการณ์ของจังหวัดตรัง พบผู้ป่วยรายใหม่ 295 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวนรวม 11,293 ราย หายป่วยสะสม 8,716 ราย และเสียชีวิตสะสม 56 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งสถานการณ์การโรคติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและพบผู้ติดเชื้อในลักษณะกลุ่มก้อน (Cluster) ในกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าในตลาด สถานประกอบการ ฯลฯ ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าวจังหวัดตรังได้มีนโยบายที่จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักคอย(Community Isolation )และจากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง ครั้งที่ 24/2564 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ได้มีมิติเห็นชอบให้แต่ละอำเภอจัดตั้งศูนย์พักคอย อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง ซึ่งอำเภอเมืองตรัง ได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลโคกหล่อ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักคอย(Community Isolation ) ขึ้น ณ ศูนย์ขยายพันธ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อในที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น เทศบาลตำบลโคกหล่อ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564  จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง พ่อค้า แม่ค้า ในตลาด สถานประกอบการในพื้นที่ ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย Antigen Test Kit (ATK)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง  พ่อค้า แม่ค้าในตลาด สถานประกอบการ ได้รับการตรวจคัดกรอง Antigen Test Kit (ATK) อย่างครอบคลุม

0.00
2 2. เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

ตลาด สถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ฯลฯ ได้รับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้อย่างครอบคลุม

0.00
3 3. เพื่อให้ตลาด สถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ฯลฯ ได้รับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อโรค โควิด-19

ตลาด สถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ฯลฯ ได้รับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้อย่างครอบคลุม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

โครงการ 2. เสนอโครงการเพื่อพิจารณา 3. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังค้นหากลุ่มเสี่ยงสูง ตลาด สถานประกอบการ หน่วยงานราชการ/เอกชน ฯลฯ เพื่อตรวจเฝ้าระวังคัดกรองเชิงรุก
4. เทศบาลตำบลโคกหล่อ ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสูง และการวางแผนการจัดการขยะติดเชื้อ
5. ติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค
6. ติดตามหรือให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3- 5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต./รพ. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ 7. หากพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation และ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป 8. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้น ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงประชาชนในพื้นที่ มีพฤติกรรมตามหลัก D-M-H-T-T สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
3. ตลาด สถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อโรคโควิด-19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 16:05 น.