กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอน้อยทำได้รุ่นที่3
รหัสโครงการ 60-L4137-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มีนาคม 2561
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัสมะ มาหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนในตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมที่แข่งขันในทุกเรื่อง และมีความเป็นประชาธิปไตยสูง การโฆษณาชวนเชื่อทุกอย่างล้วนทำได้ง่าย และสะดวกเป็นอย่างมาก โดยมีการลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนสูง เพราะปัจจุบันสังคมออนไลน์ได้รับการนิยมอย่างมาก และมีบุคคลอยู่กลุ่มหนึ่งที่บริโภคสื่อออนไลน์ นั้นคือ กลุ่มเยาวชน ทั้งทำให้เกิดผลดี และโทษต่อบุคคลกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหาร การเลือกใช้เครื่องสำอาง สิ่งอำนวยความสะดวก ล้วนซื้อขายมาจากสื่อออนไลน์ทั้งสิ้น แต่เยาวชนกลุ่มนี้ยังขาดการค้นหาข้อมูล ความปลอดภัยในการบริโภค สินค้า ที่มาของสินค้า และไม่สามารถเลือกสินค้าจากสินค้าจริงได้ อีกทั้งเยาวชนกลุ่มนี้ยังขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะป็นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี การควบคุมอาหารให้ห่างไกลจากโรคอ้วน ต้องขาดเรียนเป็นประจำ ไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือ ซึ่งจากการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนในตำบลพร่อนพบว่ามีอัตราโรคฟันผุสูง ร้อยละ 56 ในปีการศึกษา 2560 ทำให้เกิดผลเสียต่อตนองและบุคคลรอบข้างได้ และจากการสำรวจร้านในพื้นที่ตำบลพร่อนยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นโทษต่อสุขภาพ ไม่มีการแสดงฉลากยาที่ชัดเจน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก่อให้ผลกระทบต่อสังคมในที่สุด ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ซึ่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอดจึงร่วมมือกันทางโรงเรียนในเขตตำบลพร่อน และภาคีเครือข่ายของชุมชนทั้งหมดได้จัดโครงการให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนชั้นปีที่ 5 และ 6 และนักเรียนชั้น ม.3 สำหรับในรร.เอกชนสอนศาสนา ที่มีความสนใจ ตั้งใจ และเสียสละเวลาช่วยบริการให้เพื่อน และ น้องๆ ให้มีสุขภาพดี และเข้ารับการอบรมการเป็นผู้นำนักเรียนได้อย่างต่อเนื่องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อนจึงมีความสนใจที่จัดทำโรงการหมอน้อยทำได้ครั้งที่ ๓

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และทักษะการเลือกบริโภคอาหาร และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย

 

2 ๒. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง เพื่อนนักเรียนและบุคคลในครอบครัว เช่น ทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 1 0.00
29 - 30 พ.ย. 60 อบรมให้ความรู้และทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย รวมทั้งให้ความรู้ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีโดยอบรม 2 รุ่นๆละ 1 วัน 0 5,000.00 -
30 พ.ย. 60 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน พร้อมสาธิต และให้เรียนปฏิบัติจริง 0 0.00 0.00

๑. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงการจัดโครงการให้ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน อสม.และผู้นำชุมชนทราบ เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้โดยมีชุมชนมีส่วนร่วมด้วย ๒.ทางโรงเรียนคัดเลือกแกนนำนักเรียน แต่ละโรงเรียน
๓. อบรมแกนนำนักเรียนให้ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม ๔. อบรมให้ความรู้และทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย รวมทั้งให้ความรู้การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยอบรม 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน ๕. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน พร้อมสาธิต และให้นักเรียนปฏิบัติจริง ๖. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังการอบรม ๗. ติดตามการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนโดยแกนนำนักเรียน และครูประจำชั้น พร้อมทั้งบันทึกการแปรงฟันในแต่ละวันในแบบบันทึกการแปรงฟันด้วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย ต่อตนเอง และผู้อื่นได้ ร้อยละ 80 ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และทักษะในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง เพื่อนนักเรียน และบุคคลในครอบครัว เช่น ทักษาะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีได้ ร้อยละ 9๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2560 11:24 น.