กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยให้ดี ด้วยวิถีพุทธ
รหัสโครงการ 65-L1500-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดุษฏี ช่วงส่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึง คนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น และมีอายุยืนยาว ทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุถือว่าได้เป็นทรัพยากรของชาติ ที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพ และดูแลเอาใจใส่ เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาก่อน สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลาน    แต่ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้น ทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุ เหล่านี้ เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้าง หรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วยและครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้ว ครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนทีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมา นอกจากนี้การให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกันจะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านควน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและจิตของผู้สูงอายุ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยให้ดี ด้วยวิถีพุทธ นี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำสาระความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพราะผู้สูงอายุต้องรู้จักการดูแลตนเองเป็นเบื้องต้น ลูกหลานจะได้รับการถ่ายทอดจากปู่ย่าตายาย สู่รุ่นต่อรุ่น โดยมีการรวบรวม เผยแพร่ สิ่งที่มีคุณค่าเหล่านั้นสู่สังคม โดยเฉพาะองค์ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน มีการรวมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพร่วมกัน

ร้อยละ 85 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองเพิ่มขึ้น

85.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในด้านต่างๆ เกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน

ร้อยละ 85 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับดีมาก

85.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ตามวัย

ร้อยละ 85 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 30,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1.อบรมให้ความรู้ จำนวน 3 วัน 60 30,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 2. เสนอโครงการต่อประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน เพื่อพิจารณาอนุมัติ 3. ประสานวิทยากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง 4. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมตามโครงการ 5. ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 ธรรมะสร้างจิต กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพการทำสมาธิบำบัด กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพการฝึกสมาธิ กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการฝึกสติ กิจกรรมที่ 6  ส่งเสริมการฝึกความรู้สึกทั่วร่างกาย กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมสุขภาพการฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีสติ กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมสุขภาพการฝึกการรู้ทันความคิดและปล่อยวาง กิจกรรมที่ 9 ส่งเสริมสุขภาพการฝึกเมตตาและให้อภัย กิจกรรมที่ 10 ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม กิจกรรมที่ 11 ส่งเสริมหลัก 3 อ 2 ส ในผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 12 การใช้ยาสามัญประจำบ้าน/การใช้สมุนไพร ขั้นประเมินผล ประเมินผลแยกรายกิจกรรมที่ดำเนินการ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน มีการรวมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
  2. ทำให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในด้านต่างๆ เกิดความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
  3. ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง มีสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 11:37 น.